วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2561

pm2.5 เข้าอยู่ในบ้าน ... ฝุ่นพิษจิ๋วรออยู่ในบ้านและอาคารแล้ว พร้อมให้สูดเข้าสะสมในปอด

ใครให้หลบ pm2.5 เข้าอยู่ในบ้าน ... ฝุ่นพิษจิ๋วรออยู่ในบ้านและอาคารแล้ว พร้อมให้สูดเข้าสะสมในปอด
☠☢




ศ. นพ.ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ ได้เล่าขานงานวิจัย เรื่อง “ต้องเริ่มในสิ่งใกล้ตัวเพื่อแก้ปัญหาเร่งด้วนเพื่อให้ภายในอาคารที่ทำงานมีคุณภาพอากาศที่ดีกว่าภายนอกอาคาร"
🏠🏣🏘
เปรียบเทียบสภาพอากาศภายนอกและภายในอาคารแบบ real-time เพื่อเป็นกรณีศึกษาในการปรับปรุงคุณภาพอากาศในที่ทำงาน โดยการทดลองพบว่าหากในอาคารเปิดประตูหน้าต่างตามปกติจะมีปริมาณฝุ่นควัน PM2.5 เท่ากับภายนอกอาคาร



ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการตรวจวัดปริมาณฝุ่นควันที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือ Particle Matter 2.5 (PM2.5) ซึ่งมักจะมีความไวในการบ่งชี้คุณภาพอากาศมากกว่าการตรวจวัดปริมาณฝุ่นควันขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) เมื่อติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศและเริ่มพบว่าดัชนีคุณภาพอากาศหรือ Air Quality Index (AQI) มีค่าสูงขึ้นจนถึงระดับที่อาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งตามมาตรฐานสากลมักจะเริ่มให้เฝ้าระวังอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนเมื่อระดับ AQI สูงกว่า 100 โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ โรคทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด โรคหัวใจ เด็กและผู้สูงอายุ



ทางสถาบันฯ จึงได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในสถาบันฯ ดังนี้

ออกมาตรการระยะสั้นให้บุคลากรปิดประตูหน้าต่างทุกบานให้สนิทตลอดเวลา เพื่อไม่ให้อากาศภายนอกเข้ามาภายในตัวอาคารสถาบันฯสำรวจช่องระบายอากาศและขอบประตูหน้าต่างว่ามีช่องให้อากาศภายนอกรั่วไหลเข้ามาได้หรือไม่ ถ้าสามารถปิดหรือซีลได้ให้ดำเนินการทันทีบริหารจัดการเรื่องการเปิดปิดประตูเข้าออกให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ประตูใดที่มีการใช้งานน้อยให้ปิดไว้ชั่วคราวจนกว่าคุณภาพอากาศในตัวอาคารจะดีขึ้นติดตั้งเครื่องฟอกอากาศชนิดที่มีแผ่นกรอง HEPA ตามจุดต่าง ๆ ในบริเวณส่วนกลางของอาคารให้ครบทุกชั้น



ผลการดำเนินการดังกล่าวทำให้ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กลดลงจนแทบไม่มีฝุ่นละอองขนาดเล็กในอาคาร ดังนั้นหากนำวิธีการนี้ไปปรับใช้ที่บ้านโดยอาจจะเลือกทำห้องใดห้องหนึ่งหรือหลายห้องที่สมาชิกในบ้านใช้เวลาอยู่ในห้องนั้นเป็นเวลานานให้เป็น Clean Area เช่น ห้องรับแขก ห้องนอน โดยปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด ติดเครื่องฟอกอากาศที่มีขนาดที่เหมาะสมกับขนาดห้อง ด้วยวิธีนี้จะทำให้สมาชิกในบ้านปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศได้

ดูเพิ่มเติมงานวิจัยได้ที่

http://www.rihes.cmu.ac.th/news/9529

สิ่งที่น่ากังวลนอกเหนือจากอันตรายของฝุ่นขนาดเล็กเหล่านี้ คือ ไม่เห็นบทบาทของกรุงเทพมหานครในฐานะรัฐบาลท้องถิ่นเข้ามาแก้ปัญหานี้เลย ขณะที่กรมควบคุมมลพิษและกรมควบคุมโรคก็ทำได้เพียงการแจ้งผลสภาพอากาศ ออกประกาศเตือน และ ‘เฝ้าระวัง’ รอให้ฝุ่นปลิวพ้ดไปเอง



หากใครได้ดูซีรีส์เรื่อง The Crown ทาง Netflix คงจำได้ถึงตอนหนึ่งที่เล่าถึงเหตุการณ์จริงในปี 1952 ที่เกิดมลพิษฝุ่นขนาดเล็ก กลายเป็นหมอกปกคลุมลอนดอน (The Great London Smog) มีคนเจ็บป่วยและล้มตายจากเหตุการณ์นั้นหลายพันคน จนนำไปสู่การออกกฎหมายจัดการมลพิษอากาศฉบับแรกของสหราชอาณาจักรในปี 1956

นับจากนั้น หลายประเทศทั่วโลกต่างประสบปัญหาคล้ายกัน โดยเฉพาะหลายเมืองใหญ่ในจีนและอินเดีย เนื่องจากมีการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ทั้งในครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งปริมาณการใช้รถส่วนตัวที่หนาแน่น  ขณะที่ประเทศไทย หลังเกิดวิกฤตฝุ่นขนาดเล็กลอยฟุ้งในภาคเหนือ ก็ถึงคราวกรุงเทพฯ ที่เจอกับปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (Particulate Matter – PM2.5) โดยทั่วไปเกิดจากการเผาไหม้ทั้งโดยธรรมชาติ เช่น ไฟป่า และจากกิจกรรมมนุษย์ เช่น จากรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง   ความอันตรายของ PM2.5 มาจากขนาดที่เล็กจิ๋วของมัน ที่เมื่อหายใจเข้าไปแล้วจะผ่านทะลุจากปอดเข้าไปยังกระแสเลือด และไหลไปทำลายระบบต่างๆ ในร่างกาย ตั้งแต่ระบบประสาท สมอง หัวใจ ระบบหายใจ การทำงานของไต และระบบสืบพันธุ์ จนนำไปสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร



สิ่งที่น่ากังวลนอกเหนือจากอันตรายของฝุ่นขนาดเล็กเหล่านี้ คือ การจัดการปัญหาของหน่วยงานรัฐ และข้อจำกัดทางกฎหมายไทย เราไม่เห็นบทบาทของกรุงเทพมหานครในฐานะรัฐบาลท้องถิ่นเข้ามาแก้ปัญหานี้เลย ขณะที่กรมควบคุมมลพิษและกรมควบคุมโรคก็ทำได้เพียงการแจ้งผลสภาพอากาศ ออกประกาศเตือน และ ‘เฝ้าระวัง’ เพื่อรอให้ฝุ่นปลิวพัดไปเอง คำถามที่ยังไม่มีคำตอบคือ ฝุ่นอันตรายเหล่านี้มาจากแหล่งกำเนิดใด ทำไมถึงมีปริมาณมากจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ แล้วมีมาตรการทางกฎหมายใดในการจัดการและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก  ประเทศไทยมีกฎหมายกำหนดค่ามาตรฐาน PM2.5 ในสิ่งแวดล้อม และมีสถานีตรวจวัดกระจายอยู่ 26 จุดใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ แต่แม้กรมควบคุมมลพิษจะพบแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของ PM2.5 มาตลอด

สิ่งที่ขาดหายไปในการวางนโยบายและการพิจารณาอนุมัติอนุญาตโครงการต่างๆ คือ การคำนวนว่า สิ่งแวดล้อมมีศักยภาพแค่ไหนในการซึมซับรับเอามลพิษที่ปล่อยออกมาจากแหล่งต่างๆ อย่างไม่จำกัดเหล่านั้น ทั้งที่สามารถคำนวนและนำมาสู่การวางแผนควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษได้ เช่น หากรัฐยังไม่สามารถจำกัดการใช้รถยนต์ส่วนตัวและสร้างทางเลือกอื่นในการเดินทางได้ในทันที ก็ต้องจำกัดปริมาณโรงงานและโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากถ่านหิน หรือออกกฎหมายควบคุมการปลดปล่อยฝุ่นขนาดเล็กอย่างเข้มงวด เพื่อให้ผู้ก่อมลพิษต้องรับผิดชอบต่อต้นทุนในการจัดการมลพิษก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศ แทนที่จะผลักภาระและค่าใช้จ่ายต่อสุขภาพ หรือค่าเสียโอกาสไปยังผู้คนที่ต้องอยู่ในที่อากาศเปิด อย่างเด็กนักเรียนที่ไม่ได้เรียนหนังสือในห้องแอร์ แม่ค้าพ่อค้าที่ต้องขายของกลางแจ้ง ผู้ที่ต้องเดินทางโดยรถประจำทาง หรือคนที่ต้องการออกกำลังกายในสวนสาธารณะ

ควรกำหนดมาตรการและบทบาทของหน่วยงานทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นว่า ใครมีอำนาจหน้าที่อะไร ยกตัวอย่างเช่น หากฝุ่นละอองเหล่านี้เกิดจากไอเสียรถยนต์เป็นส่วนใหญ่ กรมขนส่งทางบกและกรุงเทพมหานครต้องกำหนดมาตรการเร่งด่วนเพื่อลดปริมาณการใช้รถ อย่างตัวอย่างในฝรั่งเศสซึ่งเกิดปัญหาหมอกควันในกรุงปารีสเมื่อปี 2016 รัฐบาลกำหนดมาตรการให้บริการรถเมล์ฟรีแก่ประชาชน ควบคุมความเร็วของรถยนต์มากขึ้น ห้ามรถบรรทุกขับเข้ามาในตัวเมือง หรืออย่างสเปนซึ่งเกิดปัญหาหมอกควันในกรุงมาดริดช่วงเดียวกัน ก็บังคับให้รถยนต์ที่มีป้ายทะเบียนรถลงท้ายด้วยเลขคี่ขับได้เฉพาะวันคี่ ส่วนเลขคู่ก็ขับได้เฉพาะวันคู่ เป็นต้น นอกจากนี้ อีกสิ่งที่สำคัญคือ มาตรการในการป้องกันและแก้ไขเยียวยาผู้ที่ได้รับความเสี่ยงหรือได้รับผลกระทบจากมลพิษฝุ่นขนาดเล็กในครั้งนี้ ปัญหานี้ไม่ควรผ่านเลยไปโดยไม่มีใครรับผิดชอบต่อผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

ในระยะยาวนั้น แผนยุทธศาสตร์การจัดการคุณภาพอากาศ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ควรเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดการกำหนดทิศทางการออกแบบระบบขนส่ง การพัฒนาอุตสาหกรรม และแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้า ที่ป้องกันและลดการเกิดมลพิษฝุ่นขนาดเล็กจากแหล่งกำเนิดซ้ำอีก สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ซึ่งมีหน้าที่พิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการต่างๆ ก็ต้องนำข้อมูลแหล่งกำเนิดมลพิษเดิม ศักยภาพในการรองรับมลพิษใหม่ และการกระจายไปไกลข้ามพรมแดนของมลพิษบางประเภท เช่น PM2.5 มาพิจารณาประกอบการอนุมัติหรือไม่อนุมัติรายงาน ไม่เช่นนั้นแล้ว แหล่งกำเนิดมลพิษก็เกิดขึ้นใหม่อย่างไม่มีขีดจำกัด การแก้ปัญญาที่มีอยู่ตอนนี้ด้วยฝนเทียมเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น หากยังไม่แก้ที่รากของปัญหาแล้ว ฝุ่นพิษเหล่านี้ก็พร้อมคลุ้งจะกลับมาทำลายสุขภาพของคนในประเทศต่อไปไม่มีวันจบ

@healthfunfood.indochina
#healthfunfoodindochina
#หมอกฝุ่น #ฝุ่นจิ๋ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น