วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

10 เทรนด์การกินเพื่อสุขภาพ มาแรงปีมะแม

10 บัญญัติสุขภาพที่ควรทราบรับปี 2558

10 เทรนด์การกินเพื่อสุขภาพ มาแรงปีมะแม/นพ.กฤษดา ศิรามพุช
        1) อาหารเช้าสุขภาพ
    
       
เริ่มจากมื้อเช้าเป็นเทรนด์ที่ขอแนะว่า “ขาดไม่ได้” ขอให้พยายามอย่าลืมอาหารเช้า
    
       
โดยหลักของอาหารเช้ายุคใหม่ที่ทำง่ายต้องมี 3 อย่างคือ โปรตีนย่อยง่าย, คอมเพล็กซ์คาร์โบไฮเดรต, และไขมันดี อาจลองมื้อเช้าง่ายๆ อย่างกล้วยปั่นธัญพืชหรือแซนด์วิชทูน่าร่าเริงดูก็ได้
    
       
2) อาหารคลีน
    
       
พูดถึงกันมาพักใหญ่ในสังคมออนไลน์
    
       
ในอาหารคลีนมีสิ่งดีต่อสุขภาพที่เราใช้ได้คือ “ลดพิษ” และ “การไม่ปรุงแต่งมาก” เช่น เลี่ยงการผัด, ทอดที่ทำให้เพิ่มน้ำมันเข้ามาในชีวิตของผู้บริโภคแล้ว ยังทำให้เสียคุณค่าทางอาหาร
    
       ดังตัวอย่างเมนูไทยที่คลีนแถมเป็นเมนูคลาสสิกอย่าง “แกงร้อน” ที่หน้าตาคล้ายแกงจืดวุ้นเส้นเป็นต้น
    
       
3) ซุปเปอร์ฟู้ด
    
       
เป็นอาหารที่เรียกแบบลำลองเพราะมี “ซุปเปอร์แอนตี้ออกซิแดนท์” หรืออภิสารต้านอนุมูลอิสระอยู่สูง อาทิ ลูกหม่อน, ลูกหว้า, ฟักข้าว, มะขามป้อม, ใบบัวบก, ขมิ้น, ตะขบ, เก๋ากี้ ฯลฯ
    
       
เหล่านี้ใช้แทนซุปเปอร์ฟู้ดแบบฝรั่งอย่างสารพัดเบอร์รีที่ขายกันหรือว่าผลไม้นอกแพงๆ ได้เลยครับ
    
       
4) ฟังก์ชันนัลฟู้ด
    
       
คืออาหารที่มากกว่าอาหาร เป็นการรับประทานเพื่อ “ช่วย” วัตถุประสงค์พิเศษเรื่องสุขภาพ
    
       
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น ดื่มน้ำมะเขือเทศเพื่อช่วยป้องกันต่อมลูกหมาก หรือการรับประทานผักปวยเล้ง เพื่อช่วยสุขภาพจอตาและลดความเสี่ยงจุดรับภาพตาเสื่อม (AMD)
    
       
5) น้ำผักผลไม้ที่ไม่เคยลอง
    
       
เป็นของที่รวมวิตามินและแร่ธาตุไว้อย่างครบทีมแถมช่วยเฉพาะโรคได้
    
       
อย่างน้ำกระเจี๊ยบแดงสีสวยช่วยลดไขมัน, น้ำบีทรู้ทช่วยตับ, น้ำมันเทศ(Sweet potato) หรือน้ำอโวคาโดบำรุงตา
10 เทรนด์การกินเพื่อสุขภาพ มาแรงปีมะแม/นพ.กฤษดา ศิรามพุช
        6) เมนูมะพร้าว
    
       
บ้านเรามีเยอะขอแนะให้รับประทานครับ โดยอาจเลือกกินทั้งน้ำและเนื้อ รวมถึง “กะทิ” ที่มีน้ำมันมะพร้าวอุดมด้วย
    
       
สารอาหารสุขภาพอย่าง ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์สายกลางและกรดลอริกที่เป็นดั่งยาปฏิชีวนะธรรมชาติ (Monolaurin) ช่วยไล่เชื้อจุลินทรีย์ร้ายๆ จากตัวเราได้หลายชนิดครับ
    
       
7) โยเกิร์ตสด
    
       
เลือกผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตชนิดที่เป็นธรรมชาติ หรือสามารถทำเองก็ยังได้ เป็น “โยเกิร์ตสด” ที่ช่วยต้านชรา
    
       
มีของดีอยู่ที่ “โพรไบโอติกส์” จากธรรมชาติ, แคลเซียม และกรดแลกติกที่ได้จากกระบวนการหมัก เป็นที่มาของรสชาติที่เปรี้ยวกำลังดี ที่มาพร้อมประโยชน์ ที่แม้คนดื่มนมแล้วท้องเสียก็กินได้
    
       
8) สาหร่ายทะเล
    
       
เป็นของเก๋ๆ ที่ช่วยคุมน้ำหนักได้จากแคลอรีที่ต่ำ
    
       
สาหร่าย “วากาเมะ” ช่วยเบิร์นไขมันได้จากสารฟูโคแซนทิน ทั้งมีวิตามินบี 1, 12 และแร่ธาตุ “ไอโอดีน” กับ “โพแทสเซียม” ช่วยในการปลุกร่างกายให้มีชีวิตชีวา จัดเป็นอาหารร่าเริงอีกอย่างหนึ่ง
    
       
9) ข้าวโพด
    
       
เป็นของโปรดของใครหลายคนรวมถึงผมด้วย
    
       
ข้าวโพดช่วยสุขภาพได้มากกว่าความอร่อยนั่นคือ ให้ใยอาหารช่วยล้างพิษ, มีลูทีน กับซีแซนทิน เป็นเกราะช่วยจอตา
       ส่วนข้าวโพดม่วงมี “ธาตุม่วงต้านร่วงโรย(OPCs)” ทั้งหมดนี้มีในข้าวโพดฝักละไม่กี่บาท สมกับเป็นอาหารถูกและดีแห่งอนาคต
    
       
10) สมุนไพรก้นครัว
    
       
เป็นของดีอีกอย่างหนึ่งที่คนยุคใหม่ควรหันมาใช้เพื่อสุขภาพ
    
       
ที่ควรทราบได้แก่ กระเทียม, หัวหอม, ต้นหอม, ผักชี, ขิง, ตะไคร้, ข้าวกล้องงอก, อบเชย, พริกไทย, กะปิ, น้ำผึ้ง, ใบชา หรือว่าขนมปังปิ้ง ซึ่งทั้งหมดนี้มีส่วนเป็น “โฮมเมด เร็มเมดี (Homemade remedy)” หรือการบำบัดง่ายๆ ในบ้านเราก่อนได้
10 เทรนด์การกินเพื่อสุขภาพ มาแรงปีมะแม/นพ.กฤษดา ศิรามพุช
        ทั้งหมดนี้ได้พยายามรวมเคล็ดสุขภาพที่ช่วยในทั้ง 3 มิติแห่งชีวิตไว้นั่นคือ เรื่องอาหารการกิน, โอสถ และอาหารเสริมกับเรื่องราวของการมีสุขภาพดีสไตล์อายุรวัฒน์ที่ทำได้ง่ายใกล้ตัว เพราะเมื่อทำง่าย, สะดวก และไม่ต้องใช้ตัวช่วยเยอะ ก็จะพาให้เรามีกำลังใจในการทำแบบยั่งยืน

สารเคมี 12 ชนิดในเครื่องสำอางที่ควรหลีกเลี่ยง

สารเคมี 12 ชนิดในเครื่องสำอางที่ควรหลีกเลี่ยง

คุณรู้ไหมว่า จุดด่างดำ รอยเหี่ยวย่นต่างๆ บนใบหน้าหรือแขนขา จริงๆแล้วอยู่แค่ความลึกของชั้นผิวหนัง แต่ผลิตภัณฑ์ที่เราใช้เพื่อรักษาความสวยงามที่มนุษย์เรา โดยเฉพาะผู้หญิงต้องการนั้นมีสารเคมีที่สามารถแทรกซึมลงลึกได้มากกว่าชั้นผิวหนัง และถ้าหากเครื่องสำอางค์หรือครีมบำรุงผิวนั้น ซึมลึกอย่างที่โฆษณากันจริง  คุณเคยนึกมั๊ยว่า  อะไรล่ะที่มันซึมเข้าไป  และนอกจากผลเรื่องความสวยงามแล้ว สารที่ซึมลงไปในร่างกายเราจะมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง


โดยเฉลี่ยคนอเมริกันจะใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว/ทำความสะอาดผิวประมาณ 9 ชนิดต่อวัน ซึ่งในจำนวนนี้พบว่ามีสารเคมีประมาณ 120 ชนิด อันนี้ก็ไม่น่าแปลกใจเพราะตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ผู้หญิงเราก็ต้องล้างหน้า เช็ดหน้า ทามอยส์เจอร์ไรเซอร์ สำหรับหน้า สำหรับตา และ อีกอันสำหรับคอ  เมื่อเสร็จแล้วก็ต้องตามด้วยเครื่องสำอางค์ที่ 4-5 ชนิด  และอีกไม่น้อยที่ก็ต้องทาโลชั่นสำหรับผิวกาย  คุณเชื่อหรือไม่ว่ามีสารเคมีหลายชนิดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องประทินผิวนี้ยังไม่ได้ผ่านการทดสอบทางด้านพิษวิทยาอย่างถี่ถ้วน


The Green Guide มีรายชื่อสาร 12 ชนิด ที่เราควรหลีกเลี่ยง ถึงแม้ว่าการใช้สารเหล่านี้เพียงครั้งเดียวคงจะไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่การใช้ทุกวันไปเรื่อยๆตลอดอายุของคุณจะเกิดการสะสมได้ ดังนั้นเมื่อเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ให้เราใช้เวลาในการอ่านฉลากให้นานขึ้น แม้แต่ผลิตที่โฆษณาว่า     ”มาจากธรรมชาติ  Natural” หรือ ”มาจากสมุนไพร Botanical” ก็อาจผสมสารที่ควรหลีกเลี่ยง 12 ชนิดนี้ได้



1.สารยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย  หรือ Antibacterial ตัวอย่าง เช่น Triclosan เป็นสารยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่มักเติมลงในสบู่ ยาสีฟัน ผลิตภัณฑ์ใต้วงแขน เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อจาก E. coli หรือ Salmonella enterica มีรายงานระบุว่าตรวจพบ Triclosan ในน้ำนมแม่  และมีงานวิจัยอีกชิ้นที่พบว่า  Triclosan ออกฤทธ์รบกวนการทำงานของฮอร์โมนเทสโตสเตอโรนในเซลล์ได้ จากการศึกษาหลายๆชิ้นบ่งชี้ว่าแค่อาบน้ำด้วยสบู่ธรรมดา และน้ำอุ่นก็ก็สามารถฆ่าเชื้อโรคได้แล้ว



2.Coal Tar เป็นสารก่อมะเร็งที่ใช้เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญในแชมพูขจัดรังแค และครีมทาแก้คัน สีผสมอาหารบางชนิดที่มีโครงสร้างทางเคมีใกล้เคียงกับ Coal Tar เช่น FD & C Blue 1 ที่มักใช้ในยาสีฟันและ FD&C Green 3 ที่มักใช้ในน้ำยาบ้วนปาก ก็พบว่ามีคุณสมบัติเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลองเมื่อฉีดสีเหล่านี้เข้าใต้ผิวหนัง



3.  Diethanolamine (DEA) สารชนิดนี้พบว่าอาจออกฤทธิ์รบกวนการทำงานของฮอร์โมน และอาจเป็นสารก่อมะเร็ง และมีผลทำให้ปริมาณ choline ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสมองของตัวอ่อนในครรภ์ลดลงด้วย เราอาจพบ DEA ได้ในผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมีที่เป็นอนุพันธ์ DEA เช่น cocamide DEA ได้ เนื่องจากการปนเปื้อนมากับตัววัตถุดิบ



4. 1,4-Dioxane เป็นที่ยอมรับกันว่าสารชนิดนี้เป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ และอาจเป็นสารก่อมะเร็งในคนด้วย Dioxane มักพบปนเปื้อนมากับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ Sodium Laurth Sulfate หรือสารเคมีที่มีคำว่า “PEG,” “-xynol,” “ceteareth,” และสารเคมีที่มักลงท้ายว่า ethoxylated "eth" ถึงแม้ว่าองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้ทำการเฝ้าระวังสารปนเปื้อน 1,4 Dioxane แต่ก็ยังไม่มีการกำหนดค่าสูงสุดที่มนุษย์สัมผัสได้ แม้ว่าผู้ผลิตเครื่องสำอางได้ใช้กระบวนการ “vacuum stripping” เพื่อขจัด dioxide ออกแต่ก็ไม่สามารถทำได้ทั้งหมด แต่ก็ช่วยลดปริมาณปนเปื้อนที่พบในผลิตภัณฑ์อาบน้ำเด็กเหลือเพียง 10 ส่วนในล้านส่วน  จากการสำรวจในปี 2007 โดยโครงการรณรงค์การใช้เครื่องสำอางปลอดภัย ในขณะที่การสำรวจในปี 2001 นั้นมีสารปนเปื้อน dioxane ถึง 85 ส่วนในล้านส่วน

5. Formaldehyde เป็นสารที่มีอันตรายต่อสุขภาพหลายข้อด้วยกัน รวมถึงพิษต่อระบบภูมิคุ้มกัน ฤทธิ์ระคายเคืองทางเดินหายใจ และทำให้เกิดมะเร็งในคน ซึ่งสาร Formaldehyde สามารถตรวจพบได้แม้ในสบู่อาบน้ำเด็ก ยาทาเล็บ กาวติดขนตา และยาย้อมผม โดย Formaldehyde ปนเปื้อนมากับสารเคมีตัวอื่นหรืออาจเกิดจากการสลายตัวของ diazolidinyl urea(สารกันบูด) หรือ imidazolidinyl urea (สารกันบูด) หรือสารประกอบ quarternium

6. Fragrance น้ำหอม คำว่าน้ำหอมอาจใช้แทนสารเคมีกลุ่ม phthalates ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้เป็นกลิ่นสังเคราะห์หรือน้ำหอมสังเคราะห์นั่นเอง โดยสารกลุ่มนี้จะรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อจึงอาจก่อให้เกิดความอ้วน และอาจมีผล        รบกวนระบบสืบพันธ์และการพัฒนาการได้ การหลีกเลี่ยงสารกลุ่ม phthalates ทำได้โดยการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารแต่งกลิ่น/ น้ำหอมที่สกัดจากธรรมชาติ หรือ essential oil ที่มักนิยมใช้ในผลิตภัณฑ์สปาราคาสูง เนื่องจากน้ำมันหอมมระเหยสกัดจากธรรมชาติมีราคาแพงกว่าน้ำมันหอมระเหยสังเคราะห์


7.Lead and Mercury สารตะกั่วและปรอท ตะกั่วมีฤทธิ์ทำลายระบบประสาทที่พบในธรรมชาติที่ปนเปื้อนมากับ hydrated silica โดย hydrated silica เป็นสารที่มักพบยาสีฟันส่วน lead acetate พบได้ในยาย้อมผมสำหรับผู้ชาย บางยี่ห้อ ส่วนปรอทซึ่งเป็นสารที่ทำลายสมอง อาจพบได้ในมาสคาร่าที่ใช้ thimerosol เป็นสารกันเสีย



8.Nanoparticles  เป็นสารอะไรก็ได้ที่มีอนุภาคขนาดเล็กมากๆ จึงเกิดการแทรกซึมเข้าผิวหนังและถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดและไปทำลายเซลล์สมองได้ พบการใช้ nonoparticles เพิ่มขึ้นในเครื่องสำอางและครีมกันแดด  ตัวที่มีปัญหามากที่สุดคือ zinc oxide หรือ titanium dioxide ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์สำคัญในการป้องกันรังสี uv ที่ใช้แล้วไม่ทำให้หน้าขาว  ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการดูดซึมของ zinc oxide หรือ titanium dioxide เข้าสู่ร่างกาย  ให้เลือกใช้ครีมกันแดดที่ใช้อนุภาคขนาด 100 nanometres ขึ้นไป โดยการโทรศัพท์ไปถามผู้ผลิตถึงขนาดของ zinc oxide และ titanium dioxide ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์  ปัจจุบันมีบางบริษัทได้โฆษณาระบุว่าปราศจากสาร nanoparticles บนฉลากด้วย



9. Parabens สารกลุ่มพาราเบน  เช่น (methyl-,ethyl-,propyl-,putyl-,isobutyl-)Parabens มีฤทธิ์ฮอร์โมนเอสโตรเจน (ฮอร์โมนเพศหญิงอย่างอ่อนๆ ) เป็นสารกันบูดที่ใช้อย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว มีการศึกษาพบว่า putyl paraben มีฤทธิ์ทำลายการสร้างสเปริ์มในอัญฑะของหนู  ใน EU ได้ประกาศห้ามใช้  sodium  methylparaben  ในเครื่องสำอางแล้ว เมื่อ paraben เข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็น p-hydroxybenzoic acid  ที่มีฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจนในเซลล์เพาะเลี้ยงมะเร็งเต้านม



10. Petroleum Distillates  สารสกัดจากปิโตรเลียม อาจเป็นสารก่อมะเร็งในคนได้ โดย E.U. ได้ประกาศห้ามใช้หรือจำกัดการใช้ในเครื่องสำอางแต่ยังใช้แพร่หลายในเครื่องสำอางประเภทมาสคาร่า  แป้งดับกลิ่นเท้าและผลิตภัณฑ์อื่นๆ  ที่มาจากสหรัฐอเมริกาบางยี่ห้อ  ให้สังเกตชื่อส่วนผสมที่เขียนว่า liquid paraffin และ petroleum.


11. P-Phenylenediamine เป็นสารที่พบในยาย้อมผม  มีฤทธิ์ทำลายระบบประสาท  ทำให้ระคายเคืองปอดและก่อให้เกิดการแพ้ สารกลุ่มที่มีชื่อเรียกอื่นได้เช่น  1,4-Benzenediamine; p-Phenyldiamine and 4- Phenylenediamine.



12. Hydroquinone มักพบในครีมหน้าขาวหรือโลชั่นผิวขาว Hydroquinone มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทและก่อให้เกิดการแพ้ มีหลักฐานบางชิ้นระบุว่า ทำให้เกิดมะเร็งได้ในสัตว์ทดลอง และอาจพบเป็นสารเจือปนในส่วนประกอบบางอย่างที่ไม่เขียนบนฉลากได้

รู้กันแล้วก่อนจะซื้อเครื่องสำอางค์หรือครีมบำรุงผิวซักชิ้น ก็ลองอ่านส่วนประกอบดูด้วยว่ามีอะไรที่อันตรายหรือเปล่า คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  www.safecosmetics.org  และ www.cosmeticdatabase.com หรือ  http://www.householdproducts.nlm.nih.gov

ครีมกันแดด ที่มีส่วนผสมของสารฟิสิคอล Physical กับ สารเคมีคอล Chemical แตกต่างกันอย่างไร ? อะไรดีกว่ากัน ?


ครีมกันแดด ฟิสิคอล กับ เคมีคอล แตกต่างกันอย่างไร ?


สารกันแดดมีเพียง 2  กลุ่มที่มีกลไกลการปกป้องผิวที่แตกต่างกัน คือ

1. Chemical Sunscreen

การปกป้องรังสียูวีจะใช้คุณสมบัติในการ ดูดกลืนรังสี UV ที่ช่วงความยาวคลื่นแตกต่างกัน แล้วแต่ชนิดของสารกันแดดตัวนั้น สารกันแดดชนิดเคมีมีทั้งแบบที่ละลายในน้ำมันและละลายในน้ำ ด้วยคุณสมบัติการละลายจึงสามารถซึมซาบเข้าสู่ผิวได้ทั้งชั้นหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้  โดยครีมกันแดดชนิด Chemical ที่มีค่า SPF สูงๆจะมีสารกันแดดชนิดเคมีที่ดูดกลืนรังสี UVA รังสี UVB รวมกันหลายๆ ชนิด เพื่อให้ค่าการดูดกลืนรังสี UV ที่ครอบคลุมได้กว้างและมีผลในการช่วยส่งเสริมกันให้สามารถดูดกลืนรังสี UVไว้ได้มากขึ้น การใช้ครีมกันแดดชนิดเคมีที่มีค่า เอสพีเอฟสูง เกินความจำเป็นไม่ใช่สิ่งที่ควรทำเนื่องจากการสะสมสารกันแดดไว้ในผิวมากๆ จะทำให้ผิวเกิดอนุมูลอิสระ และความร้อนภายในผิวชั้นใน ยิ่งทำให้ผิวเสื่อมสภาพเร็วยิ่งกว่าการโดนรังสี UV ทำร้ายเสียอีก



การใช้ครีมกันแดดที่มีสารกันแดดชนิดเคมีจะต้องปฎิบัติดังนี้


- ทาครีมกันแดดก่อนถูกแดด 30  นาที เนื่องจากต้องรอให้สารกรองรังสี UV พร้อมทำงาน

- ควรทาครีมกันแดด ทุก 2 ชั่วโมง เนื่องจากสารกรองรังสี UV แม้มีความสามารถในการดูดกลืนรังสี UV ไว้มากเพียงใด แต่จะเสื่อมสลายคุณสมบัติดังกล่าวเมื่อทำงานครบ 2 ชั่วโมง แล้วคุณจะทาครีมกันแดดชนิดเคมีที่ค่า SPF สูงกว่า 12 ทำไม ? ****** ตัวเลข คำนวณจาก 10  x 12 (SPF) = 120 นาที หรือ 2 ชั่วโมง


- การทาครีมกันแดดชนิดเคมีมีผลทำให้เกิดปฎิกริยา Oxidation เกิดขึ้นที่ผิวมากขึ้น ทำให้ความร้อนที่ผิวมากขึ้น จึงทำให้ผิวระคายเคือง แก่ และดำง่ายขึ้น


2. Physical Sunscreen


เป็นสารกลุ่มแร่ธาตุ โดยที่นิยมใช้ในครีมกันแดดคือ ไทเทเนียมไดออกไซด์ และซิงค์ออกไซด์  สารกันแดดกลุ่มนี้จะปกป้องผิวโดย การสะท้อนรังสี  ในความยาวช่วงคลื่นต่างๆ ทั้งช่วงคลื่น UVA หรือ UVB ขึ้นกับขนาดของอนุภาค ชนิดของผลึก ความสามารถในการกระจายตัว และความเสถียร ความสามารถในการเกาะติดผิว  โดยทั่วไปอนุภาคจะมีขนาด 100-10 นาโนเมตร จึงจะมีประสิทธิภาพสูง ในการปกป้องทั้งยูวีเอ ยูวีบี ถ้ามีขนาดใหญ่กว่านี้จะเป็นเพียงสารให้สีขาวที่อยู่เมคอัพเท่านั้น




สารกันแดด ชนิด Physical จะมีข้อดีคือ ไม่ทำให้ผิวเกิดความร้อน จึงอ่อนโยนและก่อให้เกิดการแพ้้ได้น้อยกว่าสารกันแดดชนิด Chemical เพราะแร่ธาตุจะเป็นของแข็งที่ไม่ซึมซาบเข้าสู่ผิวชั้นลึก แต่หากมีขนาดอนุภาคต่ำกว่า 40 นาโนเมตร จะสะสมในชั้นหนังกำพร้าเท่านั้นไม่ซึมสู่ผิวชั้นหนังแท้เหมือนครีมกันแดดชนิดเคมี



ขนาดอนุภาคของสารกันแดด ชนิดฟิสิคอล จะมีผลในการสะท้อนรังสี ที่มีความยาวคลื่นแตกต่างกัน


- ขนาดอนุภาค 40 - 80 นาโนเมตร จะสะท้อนรังสีทั้ง UVB ,UVA และ V Ray ได้ดี เหมาะกับครีมกันแดดที่ค่า SPF 15-30 เนื่องจากถ้าเกินจากนี้จะเริ่มขาววอก จึงเหมาะกับการใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไปที่ออกแดดสลับกับอยู่ในร่มโดนแสงไฟตลอดเวลา หรืออยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ และมีผลในการปกป้องผิวจากริ้วรอยได้ดี

- ขนาดอนุภาค 10-40 นาโนเมตร จะสะท้อนรังสี UVB ได้ดีกว่า ดังนั้นจะให้ค่า SPF ที่สูงได้ถึง 40 ขึ้นไปโดยไม่ขาววอก แต่ไม่สะท้อนรังสี UVA และ V ray จึงเหมาะกับการใช้เวลาออกแดดแรง ๆ นานๆ ไม่เหมาะกับการปกป้องผิวจากริ้วรอยในที่ร่ม


การใช้ครีมกันแดดชนิด Physical


1. ทาครีมแล้วถุกแดดได้ทันที ไม่ต้องรอ

2. ครีมกันแดดชนิดนี้ ถ้าเป็นสูตรกันน้ำ กันเหงื่อ ไม่จำเป็นต้องทาบ่อย ทาครั้งเดียวปกป้องผิวได้ทั้งวัน  เนื่องจากความสาารถในการสะท้อนรังสีขึ้นกับประสิทธิภาพในการเกาะติดที่ผิว

3. ครีมกันแดดชนิดฟิสิคอลที่ดี จะไม่ทำให้สีผิวเปลี่ยน แต่สารกันแดดชนิดฟิสิคอลที่คุณภาพต่ำอาจทำให้สีผิวดูคล้ำขึ้น เนื่องจากปฎิกริยา ออกซิเดชั่น ที่ผิวของสารกันแดด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการไม่ซึมซาบเข้าสู่ผิวชั้นลึกจึงไม่ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องความร้อน และการระคายเคืองเหมือนครีมกันแดดชนิดเคมี

สารปรอทปริมาณสูงในครีมหน้าขาวและการทดสอบเบื้องต้น


สารปรอทปริมาณสูงในครีมหน้าขาวและการทดสอบเบื้องต้น

 

white3


ในยุคที่ผู้บริโภคให้ความสาคัญกับสุขภาพและผิวพรรณ เพื่อนาไปสู่ความอ่อนวัยไร้ริ้วรอย และที่สาคัญผิวต้องขาวใส ไร้จุดด่างดำ ดังนั้นผลิตภัณฑ์กลุ่มฟอกผิวตัวให้ขาว ผิวหน้าให้ใส (Whitening Products) จึงมีตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างมากมาย โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้มีส่วนแบ่งการตลาดของเครื่องสำอางถึงร้อยละ 50-70 ในบางประเทศ การสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ครีมหน้าขาว-หน้าใสที่อ้างว่ามีประสิทธิภาพในการทาให้ผิวหน้าและผิวกายมีสีจางลงในเวลาสั้น เพื่อตรวจสอบคุณภาพจากหลายหน่วยงานพบว่า ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีจำนวนถึงร้อยละ 20 ที่มีสารปรอทในปริมาณสูงปนอยู่ในระดับหลายพันถึงหลายหมื่นส่วนในล้านส่วน ซึ่งสารปรอทเหล่านี้เป็นพิษต่อร่างกายทั้งแบบเฉียบพลันและในระยะยาว

ในผลิตภัณฑ์ ครีมไข่มุกที่เคยเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภค มีการผสมสารปรอทในอัตราส่วนไม่เกินร้อยละ 3 (30,000 ppm) สารปรอทที่ใช้อยู่ในรูปของไดวาเลนซ์แคทไอออน [mercuric (II) ion, Hg2+] จะยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ซึ่งทำให้การสร้างเม็ดสีเมลานิน (Melanin) ลดลง แต่จะทำให้ผิวหนังอ่อนแอ แพ้ง่าย ไวต่อรังสีอัลตราไวโอเลต สารปรอทเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านทางผิวหนัง เข้าสู่กระแสโลหิต ทำให้มีผลต่อการทางานของตับ ไต เกิดโรคโลหิตจาง เป็นต้น กระทรวงสาธารณสุขจึงประกาศให้ปรอทเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 การใช้สารปรอทเพื่อฆ่าเชื้อโรคในเครื่องสำอางบางชนิด (รวมถึงยาบางชนิด) ต้องใช้ที่ความเข้มข้นของปรอทไม่เกิน 1 ในล้านส่วน (1 ppm) แต่ที่ความเข้มข้นนี้จะไม่มีผลทำให้สีผิวจางลง

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทย (อย.) และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ได้สุ่มตรวจอย่างผลิตภัณฑ์หน้าขาวเป็นระยะ แต่ยังพบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหลายสิบชนิดที่มีปริมาณสารปรอทสูงมากและก่อให้เกิดอันตรายกับผู้บริโภค องค์การอนามัยโลกรายงานถึงปัญหาการปนเปื้อนสารปรอทในหลายประเทศทั่วโลก ที่ผู้บริโภคความสำคัญกับสีผิวที่อ่อน ไม่ว่าจะเป็น จีน อินเดีย เกาหลี เวียดนาม อินโดนีเซีย เลบานอน เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ รวมถึงสหรัฐอเมริกา ในหลายประเทศไม่มีการตรวจสอบสารปรอทในครีมหน้าขาวอย่างเข้มงวดและไม่ทั่วถึง จึงทำให้ยังมีครีมหน้าขาวจำนวนมากที่มีสารปรอทปนเปื้อนในปริมาณที่เป็นอันตราย นอกจากนี้ครีมหน้าขาวที่ถูกลักลอบเติมปรอทมีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำนวนขึ้น เนื่องจากเป็นครีมที่ขายออนไลน์และครีมที่ถูกนำเข้าจากต่างประเทศ