วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2561

หัวใจวาย อายุแค่ไหนก็เป็นได้ บางคนยังไม่รู้ว่าตัวเองเป็นก็เยอะ


ภาวะหัวใจวายชนิดไม่แสดงอาการถูกวินิจฉัยได้อย่างไร?

เพราะภาวะหัวใจวายชนิดไม่แสดงอาการ ไม่ได้แสดงอาการใดๆที่จะให้ผู้ป่วยไปพบแพทย์ การวินิจฉัยจึงจะทำหลังจากที่ความเสียหายได้เกิดขึ้นเท่านั้น โดยทั่วไปแล้ว แพทย์สามารถตรวจพบความเสียหายของหัวใจที่เกิดขึ้นจากภาวะหัวใจวายโดย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การวินิจฉัยนี้สามารถยืนยันโดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อตรวจดูกล้ามเนื้อหัวใจที่อ่อนแอ

สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อถูกวินิจฉัยว่าเป็น ภาวะหัวใจวายชนิดไม่แสดงอาการ


เมื่อคุณรู้ตัวว่าเป็นภาวะหัวใจวายชนิดไม่แสดงอาการ สิ่งสำคัญสองประการเกี่ยวกับคุณที่คุณควรรู้คือ หนึ่ง คุณเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจชนิดที่จะต้องตระหนักไว้อย่างสูง และสอง อาการของคุณไม่สามารถวัดได้จากความรุนแรงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือความบ่อยในการรักษาโรคนี้เพราะว่าการที่ไม่มีอาการแสดง (เช่น การเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด) ไม่ใช่ตัวชี้วัดที่น่าเชื่อถือว่าการรักษานั้นประสบผสสำเร็จหรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบของคุณนั้นคงที่

ถ้าคุณมีภาวะหัวใจวายชนิดไม่แสดงอาการ การรักษาของคุณควรเป็นเหมือนกับคนอื่นๆที่มีชีวิตรอดจากภาวะหัวใจวายทั่วไป นั่นหมายความว่า การรักษาควรมุ่งถึงการลดความเสี่ยงของโรคหัวใจวายที่จะตามาภายหลัง ป้องกันการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในอนาคต ป้องกันระยะเริ่มต้นของภาวะหัวใจล้มเหลว และป้องกันการเสียชีวิตจากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

นอกจากนี้ เนื่องจากการปรากฏหรือหายไปของการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือดไม่สามารถเชื่อว่าเกิดจากได้รับการรักษาอย่างดีพอและเหมาะสมแล้ว ถ้าคุณมีภาวะหัวใจวายชนิดไม่แสดงอาการ แพทย์ประจำตัวของคุณควรแนะนำให้คุณทำ การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกายโดยด่วน การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกายมีจุดประสงค์สำคัญสองประการสำหรับผู้ที่มีภาวะหัวใจวายชนิดไม่แสดงอาการ

หัวใจวาย 




หมายถึง ภาวะซึ่งหัวใจไม่สามารถสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างพอเพียงหัวใจวายไม่เหมือนกับหัวใจหยุดเต้นเราเรียกหัวใจวายว่า congestive heart failure คือ
หัวใจทำงานล้มเหลวทำให้เนื้อเยื่อต่างๆขาดออกซิเจนเมื่อไตได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อยลงทำให้ไตสร้างสารบางชนิดออกมาทำให้เกิดการคั่งของน้ำและเกลือในร่างกาย
ถ้าไม่ได้รับการรักษาต่อก็จะมีการคั่งของน้ำและเกลือที่ปอดทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าน้ำท่วมปอด (Pulmonary edema) หากหัวใจห้องขวาวายจะเกิดการคั่งของน้ำที่ขาทำให้บวมที่เท้า อาการหัวใจวายอาจจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันเช่น เกิดภายหลังจากหลอดเลือดหัวใจตีบ หรืออาจจะค่อยๆเกิดเช่นโรคของลิ้นหัวใจหรือกล้ามเนื้อหัวใจ

สาเหตุ

หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ (หลอดเลือดออกผิดปกติ หลอดเลือดตีบตัน หรือหลอดเลือดออกผิดที่) ทำให้เลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอ กล้ามเนื้อหัวใจก็ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่ายกายได้ ผู้ป่วยมักจะมีประวัติเจ็บและแน่นหน้าอกมาก่อน

ความดันโลหิตสูง เมื่อความดันโลหิตสูงขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหนาตัวมากขึ้น และเกิดล้มเหลวได้

โรคเบาหวาน สาเหตุที่โรคเบาหวานมักจะมีโรคหัวใจ คือผู้ป่วยมักจะอ้วน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง

หัวใจเต้นผิดปกติ อาจจะเต้นผิดจังหวะ หรือเต้นช้าเกินไป หรือเต้นเร็วเกินไป ทำให้หัวใจไม่สามารถปั้มเลือดได้อย่างเพียงพอ

อาการ

  • เหนื่อยง่าย หากโรคหัวใจเป็นไม่มาก จะเหนื่อยหอบเฉพาะเวลาทำงานหนักหรือขึ้นบันได พอพักก็จะหายเหนื่อยแต่ถ้าโรคหัวใจเป็นมากขึ้น ผู้ป่วยจะเหนื่อยง่าย งานที่เคยทำได้ก็จะเหนื่อยหากเป็นมากขึ้นกิจกรรมปกติก็จะเหนื่อย
  • นอนราบไม่ได้จะเหนื่อย ต้องลุกมานั่งหลังจากนอนไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง บางรายต้องนั่งหลับเรียกว่า orthopnea
  • แน่นหน้าอกตอนกลางคืน ต้องลุกขึ้นมา
  • อ่อนเพลียง่าย ไม่มีแรง
  • หลอดเลือดดำที่คอโป่งพอง
  • ข้อเท้าบวม ท้องบวมเนื่องจากมีการคั่งของน้ำในช่องท้อง
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างเร็ว
  • ไอเรื้อรังโดยเฉพาะหากเสมหะมีเลือดปนออกมา ต้องรีบไปพบแพทย์ เพราะนั้นคืออาการน้ำท่วมปอด
  • ใจสั่นหัวใจเต้นเร็ว


#healthfunfoodindochina
@healthfunfood.indochina
#อาหารเสริมบำรุงหัวใจ
#ประกันหัวใจวายที่คุณซื้อหาได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น