ใครให้หลบ pm2.5 เข้าอยู่ในบ้าน ... ฝุ่นพิษจิ๋วรออยู่ในบ้านและอาคารแล้ว พร้อมให้สูดเข้าสะสมในปอด
☠☢💀👿
ศ. นพ.ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ ได้เล่าขานงานวิจัย เรื่อง “ต้องเริ่มในสิ่งใกล้ตัวเพื่อแก้ปัญหาเร่งด้วนเพื่อให้ภายในอาคารที่ทำงานมีคุณภาพอากาศที่ดีกว่าภายนอกอาคาร"
🏠🏣🏘
เปรียบเทียบสภาพอากาศภายนอกและภายในอาคารแบบ real-time เพื่อเป็นกรณีศึกษาในการปรับปรุงคุณภาพอากาศในที่ทำงาน โดยการทดลองพบว่าหากในอาคารเปิดประตูหน้าต่างตามปกติจะมีปริมาณฝุ่นควัน PM2.5 เท่ากับภายนอกอาคาร
ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการตรวจวัดปริมาณฝุ่นควันที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือ Particle Matter 2.5 (PM2.5) ซึ่งมักจะมีความไวในการบ่งชี้คุณภาพอากาศมากกว่าการตรวจวัดปริมาณฝุ่นควันขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) เมื่อติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศและเริ่มพบว่าดัชนีคุณภาพอากาศหรือ Air Quality Index (AQI) มีค่าสูงขึ้นจนถึงระดับที่อาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งตามมาตรฐานสากลมักจะเริ่มให้เฝ้าระวังอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนเมื่อระดับ AQI สูงกว่า 100 โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ โรคทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด โรคหัวใจ เด็กและผู้สูงอายุ
ทางสถาบันฯ จึงได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในสถาบันฯ ดังนี้
ออกมาตรการระยะสั้นให้บุคลากรปิดประตูหน้าต่างทุกบานให้สนิทตลอดเวลา เพื่อไม่ให้อากาศภายนอกเข้ามาภายในตัวอาคารสถาบันฯสำรวจช่องระบายอากาศและขอบประตูหน้าต่างว่ามีช่องให้อากาศภายนอกรั่วไหลเข้ามาได้หรือไม่ ถ้าสามารถปิดหรือซีลได้ให้ดำเนินการทันทีบริหารจัดการเรื่องการเปิดปิดประตูเข้าออกให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ประตูใดที่มีการใช้งานน้อยให้ปิดไว้ชั่วคราวจนกว่าคุณภาพอากาศในตัวอาคารจะดีขึ้นติดตั้งเครื่องฟอกอากาศชนิดที่มีแผ่นกรอง HEPA ตามจุดต่าง ๆ ในบริเวณส่วนกลางของอาคารให้ครบทุกชั้น
ผลการดำเนินการดังกล่าวทำให้ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กลดลงจนแทบไม่มีฝุ่นละอองขนาดเล็กในอาคาร ดังนั้นหากนำวิธีการนี้ไปปรับใช้ที่บ้านโดยอาจจะเลือกทำห้องใดห้องหนึ่งหรือหลายห้องที่สมาชิกในบ้านใช้เวลาอยู่ในห้องนั้นเป็นเวลานานให้เป็น Clean Area เช่น ห้องรับแขก ห้องนอน โดยปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด ติดเครื่องฟอกอากาศที่มีขนาดที่เหมาะสมกับขนาดห้อง ด้วยวิธีนี้จะทำให้สมาชิกในบ้านปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศได้
http://www.rihes.cmu.ac.th/news/9529
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น