วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2561

'แอร์รถยนต์' ต้นเหตุสุขภาพพัง

'แอร์รถยนต์' ต้นเหตุสุขภาพพัง

คุณเคยได้เข้าไปนั่งในรถยนต์ทั้งของตัวเองหรือของคนรอบข้าง แล้วเกิดความรู้สึกว่ามีการอับชื้นทางอากาศตั้งแต่เริ่มขึ้นรถบ้างไหม ซึ่งแน่นอนว่า อากาศในบ้านเราก็มีทั้งอับและชื้นนี่แหละ ที่ทำให้เชื้อราและแบคทีเรียมีการเจริญเติบโตได้ง่ายดาย และยิ่งเฉพาะอย่างยิ่งช่องแอร์ที่ไม่ได้รับความสะอาดนี่แหละ ที่เป็นต้นเหตุเกิดแห่งการเติบโตของเชื้อรา ที่ทางการแพทย์เรียกว่า “Sick Car Syndrome” นั่นเอง


โดยอาการป่วยจากเชื้อรา แบคทีเรีย และฝุ่นต่างๆ ในรถยนต์ จะก่อให้เกิดอาการต่างๆ ได้แก่ ไอ, จาม, หายใจอย่างลำบาก, มีการระคายเคืองตาและจมูก จนน้ำมูก นำตาไหล, เกิดการง่วงซึม, แน่นหน้าอก, ระบบทางเดินผิดปกติ และ โรคภูมิแพ้ ซึ่งถามว่ากำจัดด้วยสเปรย์หรือน้ำยาดับกลิ่น สามารถช่วยดับกลิ่นได้หรือไม่ หากมีสูตรกำจัดแบคทีเรียก็อาจจะช่วยในระดับหนึ่ง แต่ถ้ากลิ่นของน้ำยาหมด แบคทีเรียและเชื้อราก็กลับมาใหม่ได้อยู่ดี
สำหรับวิธีที่กำจัดฝุ่น และเชื้อราในรถยนต์นั้น มีดังนี้
1.หาสาเหตุของกลิ่นอับว่า ถ้าเปิดประตูแล้วมีกลิ่นอับเลย กลิ่นที่ว่าอาจจะมาจากที่นั่ง หรือ ถ้ามีกลิ่นตอนเปิดแอร์ กลิ่นก็มาจากแอร์ ซึ่งเมื่อพบแล้วให้ทำความสะอาดทันที 
2.พยายามดูดฝุ่นเบาะนั่งเป็นประจำ โดยเฉพาะเบาะผ้า อย่าลืมดูดฝุ่นพรมที่เท้าด้วย
3.หากมีน้ำ หรือเครื่องดื่มที่เคยหกใส่เบาะหรือที่วางเท้า รีบทความสะอาด และจัดการให้แห้ง
4.อย่าฉีดสเปรย์ น้ำหอม หรือสารเคมีต่างๆ มากจนเกินไป เพราะมันอาจจะทำให้ผลแย่กว่าเดิม
5.หากยังมีเชื้อราหรือกลิ่นอับชื้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

ยาไซบูทรามีน (sibutramine) ... ยาที่ถูกเพิกถอน ไม่ให้ใช้ แต่ก็แอบมาใส่ เพื่อให้เห็นผลรวดเร็ว

ยาไซบูทรามีน (sibutramine) ... ยาที่ถูกเพิกถอน ไม่ให้ใช้ แต่ก็แอบมาใส่ เพื่อให้เห็นผลรวดเร็ว
ยังมียาอีกหลายประเภท ที่เอามาเป็นส่วนผสมของอาหารเสริมลดความอ้วน ที่ต้องระวังเหมือนกันในการใช้

ข้อมูลการทดลองทางคลินิกชี้ให้เห็นว่า ยาเพิ่มความเสี่ยงต่อกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมองถึงร้อยละ 16 นอกจากนี้ยังมีอาการที่พบบ่อยคือ ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นเร็ว ปากแห้ง ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ และท้องผูก เป็นต้น ซึ่งปัจจุบัน อย. ได้เพิกถอนยาไซบูทรามีนออกจากตลาดแล้ว

ประเภทของยาลดน้ำหนักที่มีการจำหน่ายกันในปัจจุบัน

1. ยาควบคุมความหิว ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์กดศูนย์ควบคุมความหิวในสมอง ทำให้ไม่รู้สึกอยากรับประทานอาหารและอิ่มเร็ว แต่เนื่องจากยาประเภทนี้ออกฤทธิ์ต่อสมองโดยตรง ทำให้เกิดผลแทรกซ้อนค่อนข้างมาก เช่น นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย หงุดหงิด ใจสั่น ปากแห้ง

2. ยาเพิ่มการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย เป็นการนำยาในกลุ่ม "ไทรอยด์ฮอร์โมน" ที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคไทรอยด์มาใช้ เพราะยากลุ่มนี้สามารถเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงาน น้ำหนักจึงลดลงอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม น้ำหนักที่ลดลงเป็นน้ำหนักที่เกิดจากมวลรวมของร่างกาย แทนที่จะเป็นไขมัน ดังนั้น ยานี้จึงส่งผลข้างเคียงสูง แถมยังเป็นอันตรายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย

3. ยาระบายและยาขับปัสสาวะ เป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากทำให้เห็นผลเร็วและน้ำหนักลดลงมาก แต่ความจริงแล้วเป็นภาพลวงตา เพราะสิ่งที่ลดลงไม่ใช่ไขมัน แต่เป็นน้ำภายในร่างกาย การใช้ยาประเภทนี้จะส่งผลข้างเคียง เช่น ทำให้ขาดเกลือแร่ที่สำคัญ และอาจทำให้ไตมีปัญหาได้

4. ยาที่ช่วยทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นพวกใยอาหาร (ไฟเบอร์) เช่น บุก แมงลัก ซึ่งมักทำให้เกิดอาการท้องอืด

5. ยาลดการดูดซึมไขมัน ทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของน้ำย่อย ที่มีหน้าที่ย่อยสลายไขมัน เมื่อไขมันไม่ถูกย่อยก็จะไม่ถูกดูดซึมเข้าร่างกาย และในที่สุดจะถูกขับถ่ายออกไป อย่างไรก็ตาม ยาประเภทนี้มีผลข้างเคียงทำให้มีลมในลำไส้มาก ท้องอืด ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำมัน ผายลมมีน้ำมันปนออกมา อุจจาระบ่อย หรือกลั้นอุจจาระไม่อยู่

6. อาหารเสริมที่อ้างว่าสามารถช่วยลดน้ำหนัก เช่น ไคโตซาน ส้มแขก

7. วิตามิน ถูกจ่ายควบคู่มาด้วย เนื่องจากผลข้างเคียงของยาต่างๆ ข้างต้นทำให้ไม่รู้สึกหิว กินอาหารไม่เพียงพอ หรือระบายน้ำออกจากร่างกายมากไป ทำให้ร่างกายสูญเสียเกลือแร่และวิตามิน

วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2561

ฝุ่นพิษจิ๋วรออยู่ในบ้านและอาคารแล้ว พร้อมให้สูดเข้าสะสมในปอด

ใครให้หลบ pm2.5 เข้าอยู่ในบ้าน ... ฝุ่นพิษจิ๋วรออยู่ในบ้านและอาคารแล้ว พร้อมให้สูดเข้าสะสมในปอด
☠☢💀👿
ศ. นพ.ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ ได้เล่าขานงานวิจัย เรื่อง “ต้องเริ่มในสิ่งใกล้ตัวเพื่อแก้ปัญหาเร่งด้วนเพื่อให้ภายในอาคารที่ทำงานมีคุณภาพอากาศที่ดีกว่าภายนอกอาคาร"
🏠🏣🏘
เปรียบเทียบสภาพอากาศภายนอกและภายในอาคารแบบ real-time เพื่อเป็นกรณีศึกษาในการปรับปรุงคุณภาพอากาศในที่ทำงาน โดยการทดลองพบว่าหากในอาคารเปิดประตูหน้าต่างตามปกติจะมีปริมาณฝุ่นควัน PM2.5 เท่ากับภายนอกอาคาร

ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการตรวจวัดปริมาณฝุ่นควันที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือ Particle Matter 2.5 (PM2.5) ซึ่งมักจะมีความไวในการบ่งชี้คุณภาพอากาศมากกว่าการตรวจวัดปริมาณฝุ่นควันขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) เมื่อติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศและเริ่มพบว่าดัชนีคุณภาพอากาศหรือ Air Quality Index (AQI) มีค่าสูงขึ้นจนถึงระดับที่อาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งตามมาตรฐานสากลมักจะเริ่มให้เฝ้าระวังอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนเมื่อระดับ AQI สูงกว่า 100 โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ โรคทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด โรคหัวใจ เด็กและผู้สูงอายุ

ทางสถาบันฯ จึงได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในสถาบันฯ ดังนี้

ออกมาตรการระยะสั้นให้บุคลากรปิดประตูหน้าต่างทุกบานให้สนิทตลอดเวลา เพื่อไม่ให้อากาศภายนอกเข้ามาภายในตัวอาคารสถาบันฯสำรวจช่องระบายอากาศและขอบประตูหน้าต่างว่ามีช่องให้อากาศภายนอกรั่วไหลเข้ามาได้หรือไม่ ถ้าสามารถปิดหรือซีลได้ให้ดำเนินการทันทีบริหารจัดการเรื่องการเปิดปิดประตูเข้าออกให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ประตูใดที่มีการใช้งานน้อยให้ปิดไว้ชั่วคราวจนกว่าคุณภาพอากาศในตัวอาคารจะดีขึ้นติดตั้งเครื่องฟอกอากาศชนิดที่มีแผ่นกรอง HEPA ตามจุดต่าง ๆ ในบริเวณส่วนกลางของอาคารให้ครบทุกชั้น

ผลการดำเนินการดังกล่าวทำให้ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กลดลงจนแทบไม่มีฝุ่นละอองขนาดเล็กในอาคาร ดังนั้นหากนำวิธีการนี้ไปปรับใช้ที่บ้านโดยอาจจะเลือกทำห้องใดห้องหนึ่งหรือหลายห้องที่สมาชิกในบ้านใช้เวลาอยู่ในห้องนั้นเป็นเวลานานให้เป็น Clean Area เช่น ห้องรับแขก ห้องนอน โดยปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด ติดเครื่องฟอกอากาศที่มีขนาดที่เหมาะสมกับขนาดห้อง ด้วยวิธีนี้จะทำให้สมาชิกในบ้านปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศได้

http://www.rihes.cmu.ac.th/news/9529

อากาศเชียงใหม่วิกฤตหนัก...พบค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 สูงเกินความปลอดภัยต่อคน

อากาศเชียงใหม่วิกฤตหนัก...




เตือนประชาชนชาวเชียงใหม่ พบค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 วัดที่ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ 177 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีดัชนีคุณภาพอากาศไม่ดี



หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกอาคารที่ใช้แรงหนักและเป็นเวลานานๆ หากมีความจำเป็นควรใส่หน้ากากที่สามารถป้องกันฝุ่นควันขนาดเล็กมากได้ เช่น หน้ากากชนิด N95 หรือ FFP2 ส่วนหน้ากากอนามัยธรรมดา ไม่สามารถป้องกันฝุ่นละเอียดเข้าสู่ร่างกายได้ ตลอดจนควรปิดประตูหน้าต่างบ้านหรืออาคารให้สนิท ไม่ให้อากาศที่มีควันพิษภายนอกเข้าภายในบ้าน หรือใช้เครื่องฟอกอากาศชนิดมีแผ่นกรอง HEPA ที่มีขนาดเหมาะสมกับขนาดห้อง



ช่วงค่ำวานนี้ (15 เม.ย.) ค่าคุณภาพอากาศเกินค่ามาตรฐาน เนื่องจากมีกลุ่มควันไฟขนาดใหญ่ลอยมาจากประเทศเพื่อนบ้านและจังหวัดข้างเคียง พัดเข้ามาปกคลุมจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งตัวเมืองเชียงใหม่ และในหลายอำเภอ

พบค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 10 (วัดโดยกรมควมคุมมลพิษ) เฉลี่ยในรอบ 24 ชั่วโมง ณ สถานีวัดตำบลช้างเผือก 110 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สูงสุดอยู่ที่สถานีวัดตำหนักภูพิงค์ 114 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ขณะที่ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 (จังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) วัดที่ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ 177 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีดัชนีคุณภาพอากาศไม่ดี ซึ่งสูงสุดวัดได้ที่สถานีโรงพยาบาลสะเมิง 277 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ดัชนีคุณภาพอากาศไม่ดีอย่างยิ่ง



สำหรับ ผู้ที่ต้องการตรวจสอบคุณภาพอากาศของทุกอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.cmaqhi.org โดยจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดทำเว็ปไซด์ที่จะแจ้งเตือนประชาชนหากมีคุณภาพอากาศที่จะมีแนวโน้มเกินค่ามาตรฐาน ซึ่งสามารถวัดได้ทั้งค่า PM 10 และ PM 2.5 โดยได้เร่งติดตั้งเครื่องวัดคุณภาพอากาศไว้ที่โรงพยาบาลให้ครบทั้ง 25 อำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสามารถให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปตรวจเช็คสภาพอากาศในแต่ละพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง

@healthfunfood.indochina
#healthfunfoodindochina
#ฝุ่นพิษจิ๋ว #สารก่อมะเร็ง