หน้ากากกรองฝุ่น กลายเป็น หน้ากากฆ่าตัวเอง
☠☠☠
สวมหน้ากากอนามัย ระดับ N95 ก็ตาม ... หากใส่ไม่ถูกต้องแล้ว ย่อมมาซึ่งความเศร้าใจ แทนที่จะช่วยป้องกันฝุ่นพิษจิ๋ว pm2.5 กลับกลายเป็นหน้ากากที่กักสารพิษไว้ให้ตัวเองหายใจเข้าไป
นักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมจากสถาบันอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม เมืองเอดินเบอระในสกอตแลนด์ ได้ศึกษาถึงการใช้หน้ากากป้องกันมลพิษ พบว่าอุปกรณ์ปิดปากและจมูกเหล่านี้อาจไม่ได้ช่วยให้ผู้คนปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศได้ แม้ว่าหน้ากากจะสามารถกรองอนุภาคขนาดเล็กตามที่มีการโฆษณา แต่ก็อาจทำให้มลพิษรั่วไหลเข้าสู่ร่างกายได้สูงถึง 68%
นักวิจัยได้ประเมินตัวอย่างหน้ากากที่ใช้ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน โดยซื้อหน้ากากต่างชนิดกัน 9 แบบที่อ้างว่าป้องกันฝุ่นพิษที่มีค่าเฉลี่ย PM2.5 ซึ่งประกอบด้วยเขม่า ละออง และอนุภาคอื่นๆที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมโครเมตร เรียกว่าเล็กมากจนสามารถผ่านเข้าระบบทางเดินหายใจสู่ปอดและกระแสเลือด เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง โดยทดสอบกับอาสาสมัคร 10 คนให้สัมผัสไอเสียจากเครื่องยนต์ดีเซลในห้องทดลอง ขณะทดลองก็ให้คนเหล่านี้พูดคุยกัน นั่งนิ่ง ยืน เอียงตัว หรือ เดินไปมา หน้ากากจะดูดเอาละอองน้ำมันดีเซลในอากาศผ่านหน้ากากเป็นเวลา 30 นาที จากนั้นก็จะวัดปริมาณอนุภาคและความเข้มข้นของเขม่าดำทั้ง 2 ด้าน
นักวิจัยเผยว่าการกรองและดูดกลืนอนุภาคของหน้ากากมีค่าเฉลี่ยเขม่าดำ 0.26-29% ขึ้นอยู่กับวัสดุของหน้ากาก ซึ่งพบการรั่วไหลที่ขอบหน้ากากของคนที่นั่งอยู่กับ วัสดุของหน้ากาก ซึ่งพบการรั่วไหลที่ขอบหน้ากากของคนที่นั่งอยู่กับที่ ประมาณ 3-68% ส่วนคนที่เคลื่อนไหวจะมีการรั่วไหลอยู่ที่ 7-66% ทั้งนี้ ประสิทธิภาพของหน้ากากอาจจะดีและเหมาะกับคนในช่วงแรกที่สวมใส่ แต่เมื่อต้องเคลื่อนไหวทำกิจกรรมก็อาจได้รับมลพิษ เพราะอนุภาคเหล่านี้ปะปนอยู่ในควันเเสียรถยนต์ และถูกปล่อยออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรม ที่น่ากังวลคือมลพิษทางอากาศทำให้ชาวจีนถึง 1,600,000 ราย เสียชีวิตก่อนวัยอันควร.
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
แผ่นกรอง HEPA (HEPA filter) ไม่สามารถนำมาล้างหรือดูดเคาะฝุ่นออกได้
หน้าฝนมา พร้อมกับเชื้อรา เชื้อไวรัสในอากาศ
ร้อน ฝน ชื้น ... เชื้อราเจริญเติบโตดี เชื้อไวรัสแพร่กระจายติดต่อทางอากาศได้มาก
ในบ้านก็ลดความเสี่ยงรับเชื้อโรคได้ด้วย การเปิดใช้เครื่องฟอกอากาศ (Air purifier) หรือชื่อที่ถูกต้อง น่าจะเป็น "เครื่องกรองอากาศ"
...เช็คสภาพของเครื่องกรองอากาศในบ้านให้พร้อมใช้งาน มิเช่นนั้นจะเป็นแค่พัดลมราคาแพง ไว้ประดับบ้าน
...ถ้ามีระบบฆ่าเชื้อโรคด้วย ให้ตรวจว่าอุปกรณ์ยังทำงานได้ดีหรือไม่
แผ่นกรอง HEPA (HEPA filter) ไม่สามารถนำมาล้างหรือดูดเคาะฝุ่นออกได้ และควรเปลี่ยนทุก 3-6 เดือน ... บางคนไม่รู้ หรือต้องการประหยัด นำออกมาล้างดูดเคาะ ก็อาจเป็นภัยต่อสุขภาพท่านเอง เพราะทำให้แผ่นกรองฉีกขาด เสียสภาพการกรองแบบถาวร ...
เครื่องกรองอากาศก็จะกลายร่างเป็น
เครื่องพ่นเชื้อโรคมลพิษ ทันทีที่ท่านเปิดเครื่องใช้งาน
ร้อน ฝน ชื้น ... เชื้อราเจริญเติบโตดี เชื้อไวรัสแพร่กระจายติดต่อทางอากาศได้มาก
ในบ้านก็ลดความเสี่ยงรับเชื้อโรคได้ด้วย การเปิดใช้เครื่องฟอกอากาศ (Air purifier) หรือชื่อที่ถูกต้อง น่าจะเป็น "เครื่องกรองอากาศ"
...เช็คสภาพของเครื่องกรองอากาศในบ้านให้พร้อมใช้งาน มิเช่นนั้นจะเป็นแค่พัดลมราคาแพง ไว้ประดับบ้าน
...ถ้ามีระบบฆ่าเชื้อโรคด้วย ให้ตรวจว่าอุปกรณ์ยังทำงานได้ดีหรือไม่
แผ่นกรอง HEPA (HEPA filter) ไม่สามารถนำมาล้างหรือดูดเคาะฝุ่นออกได้ และควรเปลี่ยนทุก 3-6 เดือน ... บางคนไม่รู้ หรือต้องการประหยัด นำออกมาล้างดูดเคาะ ก็อาจเป็นภัยต่อสุขภาพท่านเอง เพราะทำให้แผ่นกรองฉีกขาด เสียสภาพการกรองแบบถาวร ...
เครื่องกรองอากาศก็จะกลายร่างเป็น
เครื่องพ่นเชื้อโรคมลพิษ ทันทีที่ท่านเปิดเครื่องใช้งาน
วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
ทำไมตากฝนแล้วจึง เป็นหวัด
เคยสงสัยไหมว่า เวลาตากฝน โดยเฉพาะเวลาศีรษะเปียกฝน แล้ววันต่อมา เริ่มมีอาการของหวัด เช่น มีอาการจาม คัดจมูก หรือมีน้ำมูก เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายเรา
โรคหวัด ก็คือ โพรงจมูกอักเสบจากการติดเชื้อ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจากไวรัส มีไวรัสเป็นร้อยชนิด ที่ทำให้เกิดไข้หวัดได้ ไวรัสเหล่านี้ กระจายฟุ้งอยู่ในอากาศ แล้วก็ตกลงอยู่ทีพื้น หรือเกาะอยู่ตามฝุ่น ไวรัสเหล่านี้ สามารถมีชีวิตอยู่ได้นาน ในช่วงปกติ เราก็จะสัมผัสกับไวรัสเหล่านี้อยู่บ้าง แต่เนื่องจากปริมาณมีไม่สูง รวมทั้งภูมิต้านทานของร่างกาย และสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เราจึงไม่เป็นโรคหวัด
ก่อนฝนตก มักจะมีกระแสลมที่แรง ลมเหล่านี้ จะพัดให้ไวรัสฟุ้งกระจายปริมาณมาก หากเราอยู่ในบริเวณนั้น ก่อนฝนตก โอกาสที่จะสัมผัสไวรัสในปริมาณมากก็มีมากขึ้น ดังนั้น พยายามอย่าอยู่ในที่โล่งแจ้งโดยเฉพาะเวลาก่อนฝนตก หรือถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากปิดจมูก ในช่วงเวลานั้นก็ได้ครับ
ไวรัสไม่ได้เข้าทางศีรษะแต่เราเป็นหวัดได้ไงนะ?
หากเราตากฝน ศีรษะของเราก็จะเปียกฝน เชื้อโรคไม่ได้เข้าทางศีรษะนะครับ แต่การที่ศีรษะเปียกฝน จะมีผลทำให้อุณภูมิที่พื้นผิวของเยื่อบุจมูกลดต่ำลงประมาณ 1-2 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิระดับนี้ เหมาะสมสำหรับการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสที่ตกค้างอยู่ในช่องจมูก ประกอบกับการสัมผัสเชื้อไวรัสปริมาณมากช่วงก่อนฝนตก ก็เลยทำให้มีไวรัสจำนวนมากบริเวณเยื่อบุจมูก ภูมิต้านทานของร่างกาย จึงไม่อาจต้านทานเชื้อเหล่านี้ได้อีกต่อไป ก็เลยเกิดการอักเสบของเยื่อบุจมูก เกิดอาการบวมของเยื่อบุจมูก ทำให้คัดจมูก รวมทั้งเกิดการสร้างสารคัดหลั่งมากขึ้น ซึ่งก็คือ “น้ำมูก” นั่นเอง หากเชื้อไวรัสลุกลามไปที่ลำคอ ก็จะทำให้เกิดคออักเสบตามมาได้
นอกจากศีรษะที่เปียกฝน ที่มีผลต่ออุณหภูมิในจมูกแล้ว อุณหภูมิบริเวณมือและเท้า ก็มีผลด้วยเช่นเดียวกัน การที่รองเท้าเราเปียกน้ำ และต้องแช่อยู่ในนั้นนานๆ ก็มีผลทำให้อุณภูมิในจมูกลดลง นำไปสู่อาการเป็นหวัดได้
จะเห็นว่าสาเหตุของการที่เชื้อไวรัสเจริญเติบโตได้มากขึ้นแค่ไหน ขึ้นกับสภาพของร่างกายเราด้วยในสภาพแวดล้อมต่างๆกัน สภาพแวดล้อมไหนที่มีผลต่อร่างกายทั้งทางตรงทางอ้อม ก็จะไปมีผลทำให้เชื้อโรคเติบโตได้มากขึ้น ก็จะเป็นสาเหตุให้เกิดความเจ็บป่วยได้มากขึ้น
เชื้อไวรัสไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ทำให้คนเสียชีวิตหรือไม่?
จากระเบียนสถิติพบว่า คนไข้ที่ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการเสียชีวิตไม่มาก อย่างไรก็ตาม การที่คนเป็นไข้หวัดใหญ่ จะมีสภาพภูมิต้านทานต่ำ มีโอกาสสู่งที่ทำให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนจากเชื้อโรคประเภทอื่น โดยเฉพาะ เชื้อแบคทีเรียปอดบวม อันเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่สูง
เราจึงความป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการติดเชื้อไวรัสไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ให้มากที่สุด หรือเป็นให้น้อยวัน เพื่อลดการเกิดเชื้อโรคแทรกซ้อน โดยเฉพาะในเด็ก และผู้สูงอายุ
โรคหวัด ก็คือ โพรงจมูกอักเสบจากการติดเชื้อ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจากไวรัส มีไวรัสเป็นร้อยชนิด ที่ทำให้เกิดไข้หวัดได้ ไวรัสเหล่านี้ กระจายฟุ้งอยู่ในอากาศ แล้วก็ตกลงอยู่ทีพื้น หรือเกาะอยู่ตามฝุ่น ไวรัสเหล่านี้ สามารถมีชีวิตอยู่ได้นาน ในช่วงปกติ เราก็จะสัมผัสกับไวรัสเหล่านี้อยู่บ้าง แต่เนื่องจากปริมาณมีไม่สูง รวมทั้งภูมิต้านทานของร่างกาย และสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เราจึงไม่เป็นโรคหวัด
ก่อนฝนตก มักจะมีกระแสลมที่แรง ลมเหล่านี้ จะพัดให้ไวรัสฟุ้งกระจายปริมาณมาก หากเราอยู่ในบริเวณนั้น ก่อนฝนตก โอกาสที่จะสัมผัสไวรัสในปริมาณมากก็มีมากขึ้น ดังนั้น พยายามอย่าอยู่ในที่โล่งแจ้งโดยเฉพาะเวลาก่อนฝนตก หรือถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากปิดจมูก ในช่วงเวลานั้นก็ได้ครับ
ไวรัสไม่ได้เข้าทางศีรษะแต่เราเป็นหวัดได้ไงนะ?
หากเราตากฝน ศีรษะของเราก็จะเปียกฝน เชื้อโรคไม่ได้เข้าทางศีรษะนะครับ แต่การที่ศีรษะเปียกฝน จะมีผลทำให้อุณภูมิที่พื้นผิวของเยื่อบุจมูกลดต่ำลงประมาณ 1-2 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิระดับนี้ เหมาะสมสำหรับการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสที่ตกค้างอยู่ในช่องจมูก ประกอบกับการสัมผัสเชื้อไวรัสปริมาณมากช่วงก่อนฝนตก ก็เลยทำให้มีไวรัสจำนวนมากบริเวณเยื่อบุจมูก ภูมิต้านทานของร่างกาย จึงไม่อาจต้านทานเชื้อเหล่านี้ได้อีกต่อไป ก็เลยเกิดการอักเสบของเยื่อบุจมูก เกิดอาการบวมของเยื่อบุจมูก ทำให้คัดจมูก รวมทั้งเกิดการสร้างสารคัดหลั่งมากขึ้น ซึ่งก็คือ “น้ำมูก” นั่นเอง หากเชื้อไวรัสลุกลามไปที่ลำคอ ก็จะทำให้เกิดคออักเสบตามมาได้
นอกจากศีรษะที่เปียกฝน ที่มีผลต่ออุณหภูมิในจมูกแล้ว อุณหภูมิบริเวณมือและเท้า ก็มีผลด้วยเช่นเดียวกัน การที่รองเท้าเราเปียกน้ำ และต้องแช่อยู่ในนั้นนานๆ ก็มีผลทำให้อุณภูมิในจมูกลดลง นำไปสู่อาการเป็นหวัดได้
จะเห็นว่าสาเหตุของการที่เชื้อไวรัสเจริญเติบโตได้มากขึ้นแค่ไหน ขึ้นกับสภาพของร่างกายเราด้วยในสภาพแวดล้อมต่างๆกัน สภาพแวดล้อมไหนที่มีผลต่อร่างกายทั้งทางตรงทางอ้อม ก็จะไปมีผลทำให้เชื้อโรคเติบโตได้มากขึ้น ก็จะเป็นสาเหตุให้เกิดความเจ็บป่วยได้มากขึ้น
เชื้อไวรัสไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ทำให้คนเสียชีวิตหรือไม่?
จากระเบียนสถิติพบว่า คนไข้ที่ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการเสียชีวิตไม่มาก อย่างไรก็ตาม การที่คนเป็นไข้หวัดใหญ่ จะมีสภาพภูมิต้านทานต่ำ มีโอกาสสู่งที่ทำให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนจากเชื้อโรคประเภทอื่น โดยเฉพาะ เชื้อแบคทีเรียปอดบวม อันเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่สูง
เราจึงความป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการติดเชื้อไวรัสไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ให้มากที่สุด หรือเป็นให้น้อยวัน เพื่อลดการเกิดเชื้อโรคแทรกซ้อน โดยเฉพาะในเด็ก และผู้สูงอายุ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)