วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การที่คนรักษา ตายไปด้วยเป็นผลจากกระบวนการของระบบ คงไม่ใช่เรื่องการระบายอากาศอย่างเดียว ในสถานพยาบาล

ความจริงที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ บางคนก็ไม่อยากรู้...!!!
:::::::::::::::::::::::
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
.
การที่คนรักษา ตายไปด้วยเป็นผลจากกระบวนการของระบบ คงไม่ใช่เรื่องการระบายอากาศอย่างเดียว ในสถานพยาบาล
-ในรพรัฐ รพ ศูนย์ หอผู้ป่วยธรรมดา ก็เหมือน ICU แล้ว มีทั้ง ติดเชื้อ ไม่ติดเชื้อ นอนด้วยกันเรียงเป็นแถว ไม่อาจทราบได้ชัดเจน
-คนรักษา จะไม่มีทางทราบเลย mode ของ การติดต่อของเชื้อ เป็น dropletทางละอองฝอย ไอ จาม โดยตรง หรือหล่นไปติดตามเครื่องใช้ หรือ จากการสัมผ้สใกล้ชิด closed contact แมักระทั่ง การติดต่อทางการหายใจ air borne
-และคิดไม่ออก บอกไม่ได้ว่าการป้องกันจะเป็นระดับใด  รวมทั้งป้องกันตัวเองด้วย และจะให้ป้องกันครอบจักรวาลในทางปฏิบัติอางทำได้ยาก
-นี่เป็นเหตุผล ทำไม หมอ พยาบาล ที่บังคลาเทศ ตายทุกปี เพราะจะมี คนไข้เยื่อหุ้มสมอง สมองอักเสบ อาการทางเดินหายใจ มากมาย เข้ามาประจำวัน รวมทั้งที่เกิดจาก ไวรัส nipah ทุกคนอาการเหมือนกันหมด  และ nipah ติดต่อ คน สู่ คน หรืออย่าง MERS ซึ่งจากคนไข้คนเดียว เข้ารพ แดร่ทั้ว รพ และทั้งประเทศ
-ถ้าคนรักษามีคนไข้มากมาย ยิ่งทำให้ร่างกาย และการตัดสินใจ อ่อนแอไปด้วย
-ประกอบกับ สถานที่ รพ ไม่ได้ตั้งใจรองรับคนป่วยจำนวนขนาดนี้ เพราะฉนั้นไปทั้ง คนป่วย และคนรักษา
-ระบบการกันเชื้อแพร่ Infection control system คงต้องทำไปพร้อมกับปรับปรุงระบบ สุขภาพทั้งหมด แก้โดยการเพิ่มตึก เพิ่มเตียง เพิ่มหมอ พยาบาล เป็นการแก้ปลายเหตุเล็กๆ
-ทำไมคนไข้หน้าใหม่เกิดขึ้นมหาศาล และรุนแรง หลั่งไหลเข้า รพ เพราะเราป้องกันไม่ได้
-การชะลอคนเริ่มป่วยที่ยังไม่มีอาการ เช่น เบาหวาน ความดันสูง ทำไม่ได้
-คนเริ่มป่วยเข้าไม่ถึงการรักษา คนในตำบล ไปหา รพ ยาก คนรักษาก็อิดโรย
-ดังนั้น คนป่วยอาการหนักจะมากขึ้นเรื่อยๆ และไวต่อเชื้อ กลายเป็นที่เพาะเชื้อไปด้วย และรักษากันซึ้าซากมาจนกลายเป็นเชื้อดื้อยา
https://m.manager.co.th/Daily/detail/9600000052413

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น