ปัจจุบันเรามักได้ยินข่าวการเสียชีวิตจากเหตุ “ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด” อยู่บ่อยครั้ง เกิดเป็นข้อสงสัยสำหรับใครหลายคนว่า ติดเชื้อในกระแสเลือดคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร และสามารถป้องกันได้หรือไม่
ความหมายของ “ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด”
ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด หมายถึง การที่มีเชื้อก่อโรคในกระแสเลือดซึ่งสามารถตรวจพบได้ด้วยวิธีการเพาะเชื้อหรือวิธีการพิเศษต่างๆ เช่น เทคนิกทางโมเลกุล โดยทั่วไป ร่างกายเกิดการติดเชื้อขึ้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง แล้วเชื้อก่อโรคนั้นหลุดเข้าสู่กระแสเลือด ก่อให้เกิดการอักเสบติดเชื้อที่บริเวณส่วนอื่นของร่างกายหรือทั่วทั้งร่างกาย หากเชื้อมีความรุนแรงมาก อาจพัฒนาไปสู่ภาวะช็อก และการทำงานของอวัยวะภายในต่างๆ ล้มเหลว มีอันตรายถึงชีวิต จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เชื้อดังกล่าวได้แก่ จุลชีพต่าง ๆ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ซึ่งการติดเชื้อทุกส่วนของร่างกายสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การพบเชื้อในกระแสเลือดกับการติดเชื้อในกระแสเลือดนั้นไม่เหมือนกัน กล่าวคืออาจมีการตรวจพบเชื้อในกระแสเลือด แต่ถ้าเชื้อนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดโรคหรืออาการผิดปกติใดๆ อย่างนี้ไม่นับว่าติดเชื้อในกระแสเลือด ในภาวะปกติร่างกายจะมีกลไกการปราบเชื้อที่ปะปนอยู่ในกระแสเลือดอยู่แล้ว การติดเชื้อในกระแสเลือดจึงไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ ในคนปกติที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง แต่มักพบภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วย หรือเชื้อมีความสามารถที่จะหลบหลีกการทำลายเชื้อโรคของร่างกายได้
อาการแสดง
เมื่อเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ร่างกายจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการติดเชื้อ เรียกว่า เป็นกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย (Systemic inflammatory response syndrome; SIRS) ยกตัวอย่าง เช่น
- มีไข้สูงเกิน 38.3 องศาเซลเซียส บางรายอาจมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย
- ชีพจรเต้นเร็วเกิน 90 ครั้งต่อนาทีในผู้ใหญ่
- หายใจเร็วเกิน 24 ครั้งต่อนาที ในผู้ใหญ่
- เม็ดเลือดขาวเพิ่มจำนวนมากขึ้น
นอกจากนั้นยังมีอาการจำเพาะที่ที่เกิดบริเวณอวัยวะที่ติดเชื้อ เช่น อาการปัสสาวะแสบขัด แสดงว่าอาจมีการติดเชื้อที่ระบบขับปัสสาวะ หรือมีอาการไอ เจ็บหน้าอก อาจหมายถึงการติดเชื้อที่ปอด เป็นต้น
การรักษาติดเชื้อในกระแสโลหิต
โดยปกติแพทย์จะนำเลือดไปเพาะเชื้อหาสาเหตุ แต่เนื่องจากกว่าจะเพาะเชื้อได้ต้องใช้เวลา 3-5 วัน ดังนั้นแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมรักษาอาการติดเชื้อไปก่อน ในกรณีที่ได้รับเชื้อรุนแรง ถ้าได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1-2 ชั่วโมง ก็อาจจะมีชีวิตรอด แต่ถ้าให้ไม่ทันก็อาจจะเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายอาจใช้ยาปฏิชีวนะรักษาไม่ได้ผล เพราะได้รับเชื้อดื้อยาเข้าสู่ร่างกาย จึงไม่สามารถรักษาได้
เชื้อโรคที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด มีโอกาสเป็นได้ทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา เราสามารถรับเชื้อโรคได้จากทางไหนบ้าง
1. จากภายในร่างกายของเราเอง โดยปกติเราจะมีเชื้อโรคที่อาศัยอยู่ภายในร่างกายของเรา ได้แก่ ทางเดินปัสสาวะ ทางเดินอาหาร ซึ่งถ้าร่างกายแข็งแรงก็จะสามารถกำจัดให้หายไปเองได้
2. จากภายนอก เช่น เข้ามาทางบาดแผลต่าง ๆ การหายใจ ดังเราจะเคยได้ยินว่า "ไม้จิ้มฟันทิ่มเหงือก ก็เสือกตาย" นั่นเป็นผลมาจากร่างกายของผู้ป่วยอ่อนแอ เมื่อเชื้อโรคที่ติดมากับไม้จิ้มฟันได้เข้าสู่ร่างกายลุกลามจนเข้ากระแสเลือด ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้แม้จะเป็นเพียงบาดแผลเล็กน้อยก็ตาม
ลดความเสี่ยงการรับเชื้อโรคได้อย่างไร
ทำตัวให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ ก็จะมีภูมิต้านทานเชื้อโรค ทั้งจากภายในและภายนอกร่างกาย
แต่ถ้าร่างกายไม่แข็งแรง และอยู่ในช่วงอายุเสี่ยงสูง เช่น เด็ก ผู้ใหญ่สูงวัย ผู้ป่วย ก็ต้องเลี่ยงที่จะเผชิญเชื้อโรคจากภายนอก อาทิเช่น
·
- ใช้อุปกรณ์เสียบสอดเข้าร่างกาย ที่ปลอดเชื้อ เช่น ท่ออาหาร ท่อหายใจ ท่อสวนปัสสาวะ ท่อสวนทวาร
- มีคนเข้าเยี่ยมให้น้อยที่สุด เพราะคนเป็นพาหนะของเชื้อโรค นำพาเชื้อโรคเข้าสู่หายนะของผู้ป่วยได้มากที่สุด
·
- การป้องกันเชิงรุก ด้วยการใช้เครื่องฆ่าเชื้อโรคทางอากาศ ทำลายเชื้อโรคในพื้นที่ที่มีผู้ป่วยอยู่ อาทิเช่น Plasmacluster air sterilizer จะพ่นไอออนสร้างโซนทำลายเชื้อโรคได้ในบริเวณที่มีผู้ป่วยอยู่ เมื่อมีเชื้อโรคเข้ามาใน Plasmacluster zone ก็จะถูกทำลายในอากาศ การที่ Plasmacluster ion ทำลายผิวชั้นนอกของเชื้อโรค จึงเป็นทางเลือกที่ดีของการต่อสู้เผชิญกับเชื้อโรคดื้อยาได้ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น