วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

ครีมกันแดด ที่มีส่วนผสมของสารฟิสิคอล Physical กับ สารเคมีคอล Chemical แตกต่างกันอย่างไร ? อะไรดีกว่ากัน ?


ครีมกันแดด ฟิสิคอล กับ เคมีคอล แตกต่างกันอย่างไร ?


สารกันแดดมีเพียง 2  กลุ่มที่มีกลไกลการปกป้องผิวที่แตกต่างกัน คือ

1. Chemical Sunscreen

การปกป้องรังสียูวีจะใช้คุณสมบัติในการ ดูดกลืนรังสี UV ที่ช่วงความยาวคลื่นแตกต่างกัน แล้วแต่ชนิดของสารกันแดดตัวนั้น สารกันแดดชนิดเคมีมีทั้งแบบที่ละลายในน้ำมันและละลายในน้ำ ด้วยคุณสมบัติการละลายจึงสามารถซึมซาบเข้าสู่ผิวได้ทั้งชั้นหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้  โดยครีมกันแดดชนิด Chemical ที่มีค่า SPF สูงๆจะมีสารกันแดดชนิดเคมีที่ดูดกลืนรังสี UVA รังสี UVB รวมกันหลายๆ ชนิด เพื่อให้ค่าการดูดกลืนรังสี UV ที่ครอบคลุมได้กว้างและมีผลในการช่วยส่งเสริมกันให้สามารถดูดกลืนรังสี UVไว้ได้มากขึ้น การใช้ครีมกันแดดชนิดเคมีที่มีค่า เอสพีเอฟสูง เกินความจำเป็นไม่ใช่สิ่งที่ควรทำเนื่องจากการสะสมสารกันแดดไว้ในผิวมากๆ จะทำให้ผิวเกิดอนุมูลอิสระ และความร้อนภายในผิวชั้นใน ยิ่งทำให้ผิวเสื่อมสภาพเร็วยิ่งกว่าการโดนรังสี UV ทำร้ายเสียอีก



การใช้ครีมกันแดดที่มีสารกันแดดชนิดเคมีจะต้องปฎิบัติดังนี้


- ทาครีมกันแดดก่อนถูกแดด 30  นาที เนื่องจากต้องรอให้สารกรองรังสี UV พร้อมทำงาน

- ควรทาครีมกันแดด ทุก 2 ชั่วโมง เนื่องจากสารกรองรังสี UV แม้มีความสามารถในการดูดกลืนรังสี UV ไว้มากเพียงใด แต่จะเสื่อมสลายคุณสมบัติดังกล่าวเมื่อทำงานครบ 2 ชั่วโมง แล้วคุณจะทาครีมกันแดดชนิดเคมีที่ค่า SPF สูงกว่า 12 ทำไม ? ****** ตัวเลข คำนวณจาก 10  x 12 (SPF) = 120 นาที หรือ 2 ชั่วโมง


- การทาครีมกันแดดชนิดเคมีมีผลทำให้เกิดปฎิกริยา Oxidation เกิดขึ้นที่ผิวมากขึ้น ทำให้ความร้อนที่ผิวมากขึ้น จึงทำให้ผิวระคายเคือง แก่ และดำง่ายขึ้น


2. Physical Sunscreen


เป็นสารกลุ่มแร่ธาตุ โดยที่นิยมใช้ในครีมกันแดดคือ ไทเทเนียมไดออกไซด์ และซิงค์ออกไซด์  สารกันแดดกลุ่มนี้จะปกป้องผิวโดย การสะท้อนรังสี  ในความยาวช่วงคลื่นต่างๆ ทั้งช่วงคลื่น UVA หรือ UVB ขึ้นกับขนาดของอนุภาค ชนิดของผลึก ความสามารถในการกระจายตัว และความเสถียร ความสามารถในการเกาะติดผิว  โดยทั่วไปอนุภาคจะมีขนาด 100-10 นาโนเมตร จึงจะมีประสิทธิภาพสูง ในการปกป้องทั้งยูวีเอ ยูวีบี ถ้ามีขนาดใหญ่กว่านี้จะเป็นเพียงสารให้สีขาวที่อยู่เมคอัพเท่านั้น




สารกันแดด ชนิด Physical จะมีข้อดีคือ ไม่ทำให้ผิวเกิดความร้อน จึงอ่อนโยนและก่อให้เกิดการแพ้้ได้น้อยกว่าสารกันแดดชนิด Chemical เพราะแร่ธาตุจะเป็นของแข็งที่ไม่ซึมซาบเข้าสู่ผิวชั้นลึก แต่หากมีขนาดอนุภาคต่ำกว่า 40 นาโนเมตร จะสะสมในชั้นหนังกำพร้าเท่านั้นไม่ซึมสู่ผิวชั้นหนังแท้เหมือนครีมกันแดดชนิดเคมี



ขนาดอนุภาคของสารกันแดด ชนิดฟิสิคอล จะมีผลในการสะท้อนรังสี ที่มีความยาวคลื่นแตกต่างกัน


- ขนาดอนุภาค 40 - 80 นาโนเมตร จะสะท้อนรังสีทั้ง UVB ,UVA และ V Ray ได้ดี เหมาะกับครีมกันแดดที่ค่า SPF 15-30 เนื่องจากถ้าเกินจากนี้จะเริ่มขาววอก จึงเหมาะกับการใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไปที่ออกแดดสลับกับอยู่ในร่มโดนแสงไฟตลอดเวลา หรืออยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ และมีผลในการปกป้องผิวจากริ้วรอยได้ดี

- ขนาดอนุภาค 10-40 นาโนเมตร จะสะท้อนรังสี UVB ได้ดีกว่า ดังนั้นจะให้ค่า SPF ที่สูงได้ถึง 40 ขึ้นไปโดยไม่ขาววอก แต่ไม่สะท้อนรังสี UVA และ V ray จึงเหมาะกับการใช้เวลาออกแดดแรง ๆ นานๆ ไม่เหมาะกับการปกป้องผิวจากริ้วรอยในที่ร่ม


การใช้ครีมกันแดดชนิด Physical


1. ทาครีมแล้วถุกแดดได้ทันที ไม่ต้องรอ

2. ครีมกันแดดชนิดนี้ ถ้าเป็นสูตรกันน้ำ กันเหงื่อ ไม่จำเป็นต้องทาบ่อย ทาครั้งเดียวปกป้องผิวได้ทั้งวัน  เนื่องจากความสาารถในการสะท้อนรังสีขึ้นกับประสิทธิภาพในการเกาะติดที่ผิว

3. ครีมกันแดดชนิดฟิสิคอลที่ดี จะไม่ทำให้สีผิวเปลี่ยน แต่สารกันแดดชนิดฟิสิคอลที่คุณภาพต่ำอาจทำให้สีผิวดูคล้ำขึ้น เนื่องจากปฎิกริยา ออกซิเดชั่น ที่ผิวของสารกันแดด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการไม่ซึมซาบเข้าสู่ผิวชั้นลึกจึงไม่ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องความร้อน และการระคายเคืองเหมือนครีมกันแดดชนิดเคมี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น