วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

พลาสม่าคลัสเตอร์ (Plasmacluster ion) ทำลายเชื้อไวรัสได้อย่างไร เชื้อไวรัสหลากหลายพันธุ์จะมีเปลือกชั้นนอกเหมือนกันหรือเปล่า

อนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ (Plasmacluster ion) ทำลายเปลือกโปรตีนชั้นนอกของเชื้อไวรัส ได้แบบนี่ ...

http://www.sharp-pci.com/en/ion/index.htm



จากการที่ พลาสม่าคลัสเตอร์ (Plasmacluster) ในรูปของ active hydroxyl (OH) ไม่เสถียร จำเป็นต้องไปดึงไฮโดรเจนอะตอม (H+) จากเปลือกชั้นนอกของเชื้อไวรัส ทำให้เชื้อไวรัสเสื่อมสภาพ สลายตัวไปเพราะ Peptidoglycan ได้ถูกทำลายไป



ส่วน  เมื่อดึงไฮโดรเจนอะตอม (H+) ไปจากเปลือกชั้นนอกเชื้อไวรัสแล้ว ก็กลายเป็นโมเลกุลน้ำ กลับคืนสู่อากาศอีกครั้งหนึ่ง  พบว่าเปลือกชั้นนอกหรือผนังเชื้อไวรัสจะมีโครงสร้างพื้นฐานเหมือนกันหมด  ขั้นตอนการทำลายเปลือกชั้นนอกด้วยการดึงอะตอมของไฮโดรเจน จึงไม่แตกต่างกัน

 


กลไกการทำลายเชื้อไวรัสด้วยการพ่นอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์เข้าไป ได้ถูกพิสูจน์ว่าทำลายได้จริง ทั้งในรูปแบบอิสระ (free form) และละอองฟอย (droplet or stationary) เป็นการทดสอบด้วยการใช้เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โดยสถาบันไวรัสรีโทรสกรีน ประเทศอังกฤษ ... จากห้องปฎิบัติการทดสอบ ได้ผลว่า อนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์สามารถทำลายเชื้อไวรัสในรูปแบบที่ผสมกับละอองฝอย ได้ 99.9% ภายใน 2 ชั่วโมงหลังจากที่พ่นไปสัมผัสทางอากาศ

 


กระบวนการทำลายเชื้อไวรัสที่ทำโดยอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ แตกต่างจากการทำลายเชื้อไวรัสด้วยแสงยูวี (UV) หรือโอโซน (Ozone) โดยสิ้นเชิง เพราะแสงยูวีหรือโอโซน จะมุ่งทำลายที่ DNA ของเชื้อไวรัสโดยตรง จึงเป็นเหตุให้การใช้แสงยูวีหรือโอโซน เป็นพิษต่อร่างกายเช่นกัน  อีกทั้งสามารถทำให้เกิดการกลายพันธุ์จาก DNA ต่อไปได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น