วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เครื่องฟอกอากาศโอโซน มีผลเสียกระทบต่อสุขภาพ และใช้ได้มีประสิทธิภาพจริงหรือ


การที่นำโอโซนซึ่งเป็นแก๊สพิษทำลายสุขภาพของมนุษย์ได้ โดยเฉพาะเมื่อมีความเข้มข้นสูงขนาดที่สามารถทำลายเชื้อโรคในอากาศ  จากการศึกษาข้อมูลจะพบว่า ไม่มีองค์กรใดที่รับรองเครื่องฟอกอากาศโอโซนที่ใช้ในอาคาร ที่พักอาศัยเลย โอโซนเมื่อหายใจเข้าไปในปอดเพียงเล็กน้อย จะให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก ไอ หายใจไม่ออก เจ็บคอ อีกทั้งทำให้เกิดปัญหาโรคทางเดินหายใจอย่างเรื้อรัง เช่น โรคหอบ  นอกจากนี้โอโซนสามารถทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายต่อสู้กับโรคติดเชื้อโรคระบบทางเดินหายใจได้ลดลง







 
การฟื้นตัวจากการได้รับโอโซนปริมาณน้อย พอมีความเป็นไปได้ ขณะที่ปริมาณโอโ.ซนจำนวนมากและนานๆ ทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้ยาก  ผู้ผลิตเครื่องโอโซนมักจะโฆษณาชวนเชื่อว่าเป็น “ออกซิเจนที่มีพลัง” คืออากาศที่บริสุทธิ์  ทำให้เข้าใจว่าเป็นผลดีต่อประชาชน จริงๆแล้วโอโซนคือแก๊สพิษ ที่แตกต่างจากออกซิเจนปกติ  หลายหน่วยงานของรัฐบาลจึงกำหนดค่าความปลอดภัยมาตรฐานที่ไม่ให้ประชาชนรับโอโซนมากเกินไป  ค่าความปลอดภัยที่องค์การอาหารและยา ประเทศอเมริกา กำหนดไว้คือ เครื่องผลิตโอโซนต้องไม่ผลิตโอโซนเกิน 0.05 ppm (ส่วนในล้านส่วน) 
 

ริมาณโอโซนกับการกําจัดเชื้อโรคต่างๆ
1. ไวรัส ปริมาณโอโซน 0.5 - 1.5 ส่วนในล้านส่วน (ppm) สามารถกําจัดเชื้อไวรัสได้ 99% โดยระยะเวลาการฆ่าเชื้อต้องไม่น้อยกว่า 4 นาที*

2. แบคทีเรีย ปริมาณโอโซนที่ใช้ในการกําจัดเชื้อแบคทีเรียขึ้นอยู่กับชนิด และปริมาณของแบคทีเรีย โดยทั่วไปโอโซนเข้มข้น 10 ส่วนในล้านส่วน สามารถกําจัดเชื้อแบคทีเรียได้ 99% โดยระยะเวลาการฆ่าเชื้ออย่างน้อย 10 นาที

3. เชื้อรา ปริมาณโอโซนที่ใช้กับเชื้อราจะต้องใช้ปริมาณโอโซนมากกว่าการใช้กับเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากเชื้อรามีการ สร้างสปอร์ฉะนั้นในการกําจัดเชื้อรา 99 % ต้องใช้ปริมาณ โอโซนประมาณ 20 ส่วน ในล้านส่วนที่ระยะเวลาการฆ่าเชื้อ อย่างน้อย 30 นาที*ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณ

* ปริมาณโอโซนที่ใช้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาสัมผัส (CONTACT TIME)



มีการทดสอบและวิจัยความเข้มข้นของโอโซนที่สามารถกำจัดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือจุลินทรีย์อื่นๆ  พบได้ว่า ความเข้มข้นของโอโซนที่อาจทำตามกล่าวอ้าง ต้องสูงกว่า 5-10 เท่าของค่าความปลอดภัยมาตรฐาน  และไม่มีผลต่อเชื้อที่อยู่ในวัสดุเป็นรูพรุน  การนำโอโซนมาฆ่าเชื้อในอากาศจะต้องควบคุมไม่ให้มีคนหรือสัตว์อยู่ในบริเวณนั้นอย่างเด็ดขาด  นอกจากนี้โอโซนยังสามารถทำอันตรายต่อต้นไม้ ยาง ยางหุ้มสายไฟ ผ้า ภาพวาดต่างๆที่มีสีสัน






 

แหล่งที่มา   “Ozone Generators that are Sold as Air Cleaners : An Assessment of Effectiveness and Health Consequences”  U.S. Environmental Protection Agency

วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2557

รู้จัก "เมิร์ส" โรคจากเชื้อไวรัสที่มีภัยร้ายแรงกว่า "ซาร์ส" 3 เท่าตัว !


"เมิร์ส" (MERS) คือชื่อเรียกสั้นๆ จากคำเรียกชื่อโรคเต็มๆ ว่า "โรคระบบทางเดินหายใจจากตะวันออกกลาง" (Middle East Respiratory Syndrome-MERS) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ตระกูล โคโรนา ไวรัส เช่นเดียวกันกับเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรค "ซาร์ส" (โรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง) บางครั้งจึงเรียกกันว่า "โคโรนา ไวรัส เมิร์ส" บางครั้งก็เรียกกันง่ายๆ ว่า "โรคคล้ายซาร์ส"
 



องค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า เชื้อนี้ทำให้คนตาย 38 รายจาก 64 รายที่ตรวจยืนยันเชื้อได้ = โอกาสตาย 38/64 = 50% = 2 รายตาย 1 ราย








. ไข้หวัดใหญ่ซาส์ (SARS) กับมาร์ส (MARS) มีอะไรที่คล้ายกันหลายอย่าง โดยเฉพาะการติดเชื้อในโรงพยาบาล

. ความต่างกัน คือ โอกาสตายไวรัสทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือไวรัสใหม่ "เมิร์ส / MERS" สูงกว่ามาก คือ

SARS / ซาส์ = 8%


MERS / เมิร์ส = 48% 

 
เมิร์ส เป็นโรคอุบัติใหม่ พบครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2012 ที่อัล อาห์ซา เมืองโอเอซิส กลางทะเลทรายทางตะวันออกของซาอุดีอาระเบีย ต่อมาในเดือนเมษายนปีเดียวกัน มีชายวัย 60 ปี รายหนึ่งเสียชีวิตลงที่โรงพยาบาลในเมืองเจดดาห์ ซาอุดีอาระเบีย ด้วยอาการของนิวมอเนียและไตวาย

ดร.อาลี โมฮัมเหม็ด ซากี นักไวรัสวิทยาชาวอียิปต์ นำตัวอย่างจากปอดของชายผู้นี้ไปเพาะเชื้อพิสูจน์ และพบไวรัสใหม่ที่ไม่เคยเป็นที่รู้จักกันมาก่อนในนั้น โลกได้รู้จัก "เมิร์ส" มานับตั้งแต่บัดนั้น เมิร์ส และ ซาร์ส เป็นไวรัสในกลุ่มโคโรนาเช่นเดียวกัน ดังนั้น ก่อให้เกิดอาการหลายๆ อย่างคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินหายใจ คือมีไข้สูงเหมือนไข้หวัดใหญ่ ไอ หายหอบถี่ เมื่อไวรัสเมิร์สแพร่เข้าสู่ปอด สิ่งที่มันทำก็คือ ทำให้การทำหน้าที่ทั้งหมดของปอดหยุดชะงัก ผู้ป่วยจะทรุดหนักและแสดงอาการนิวมอเนียตามมา อาการรุนแรงชนิดจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อช่วยยังชีพภายในระยะเวลาสั้นๆ เพียง 12 วัน สิ่งที่แตกต่างออกไปจากไวรัสซาร์ส และเป็นเหตุผลที่ทำให้ เมิร์ส มีอานุภาพในการทำลายชีวิตสูงกว่าก็คือ ไวรัสเมิร์ส สามารถแพร่และส่งผลทำลายการทำงานของอวัยวะภายในอื่นๆ นอกเหนือจากอวัยวะในระบบทางเดินหายใจด้วย ผู้ป่วยอาจแสดงอาการเกี่ยวเนื่องกับกระเพาะอาหารและลำไส้ อาทิ ท้องร่วงรุนแรง อาเจียน ที่หนักยิ่งกว่านั้นก็คือ มันเข้าไปทำลายการทำงานของไต ส่งผลให้เกิดสภาวะโลหิตเป็นพิษ หรือไตวาย ถึงเสียชีวิตได้อย่างเฉียบพลัน แล้วก็ทำให้มันสามารถแพร่ระบาดได้จากของเสียที่ร่างกายของคนเราขับออกมา อาทิ อุจจาระ ปัสสาวะ ได้ด้วยเช่นเดียวกันกับการแพร่ระบาดทางอากาศ

จนถึงขณะนี้มีผู้ล้มป่วยด้วย โคโรนา ไวรัส เมิร์ส แล้วทั่วโลกมากกว่า 500 ราย 345 ราย ในจำนวนนั้นเป็นผู้ป่วยใน ซาอุดีอาระเบีย ประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิด และแพร่ระบาดหนักที่สุดในเวลานี้ ในจำนวนกว่า 100 ราย ที่พบนอกซาอุดีอาระเบีย แทบทั้งหมดสามารถเชื่อมโยงกลับไปยังที่นั่นได้ทั้งหมด คือ หากไม่เคยทำงานอยู่ที่นั่นก็ต้องเคยเดินทางไปยังซาอุดีอาระเบียมา เมื่อเปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตระหว่างเมิร์สกับซาร์ส พบว่าผู้ป่วยเมิร์สราว 27-31 เปอร์เซ็นต์ ถึงแก่ชีวิต ในขณะที่ซาร์ส ทำให้เสียชีวิตเพียง 8 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด หรือพูดง่ายๆ ว่า "เมิร์ส" ร้ายแรงกว่า ซาร์ส ที่เคยเขย่าโลกมาเมื่อปี 2002-2003 ราว 3 เท่าตัวนั่นเอง!


จนถึงขณะนี้ มีประเทศซึ่งพบผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันแล้วว่า เป็นผู้ป่วยด้วยโรคเมิร์สรวม 17 ประเทศ สามารถจำแนกได้เป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกเป็นประเทศที่อยู่ในพื้นที่แพร่ระบาด คือในคาบสมุทรอาหรับ ประกอบด้วย ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรดส์ (ยูเออี) กาตาร์ โอมาน จอร์แดน คูเวต และเยเมน อีกกลุ่มเป็นประเทศที่พบผู้ป่วยมีส่วนเชื่อมโยงกับการเดินทางไปยังประเทศกลุ่มแรก ประกอบด้วย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ตูนิเซีย อิตาลี มาเลเซีย ตุรกี กรีซ ฟิลิปปินส์ อียิปต์ และสหรัฐอเมริกา

ประเด็นที่น่าสนใจประการหนึ่งเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเมิร์สในเวลานี้ก็คือ เมิร์ส ถูกพบครั้งแรกเมื่อ 2 ปีก่อน แต่ไม่ได้สร้างความกังวลในแง่ของโอกาสที่มันจะกลายเป็นโรคระบาดในระดับโลกมาตลอดทั้งปี 2013 ตราบจนกระทั่งจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างพรวดพราดจนผิดสังเกตนับตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ในซาอุดีอาระเบีย ตัวอย่างของการเพิ่มขึ้นอย่างพรวดพราดดังกล่าวนี้ เห็นได้ชัดในช่วงระหว่างวันที่ 15-21 เมษายนที่ผ่านมา ที่มีผู้ป่วยเมิร์สเพิ่มมากขึ้นถึง 49 ราย ยิ่งไปกว่านั้น สถิติแสดงให้เห็นว่า ระหว่างวันที่ 20 มีนาคม จนกระทั่งถึงวันที่ 26 เมษายน 29 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยและเสียชีวิตด้วยเมิร์ส ล้วนแต่เป็นบรรดาผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องอยู่ในสถานพยาบาล ดร.อลา อัลวาน ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคอีสเทิร์น เมดิเตอเรเนียน บอกในเวลาไล่เลี่ยกันนั่นเองว่า ราวๆ 75 เปอร์เซ็นต์ ของรายงานการพบผู้ป่วยเมิร์สในระยะหลัง จัดได้ว่าเป็น "เซคคันดารี เคส" คือผู้ที่ติดเชื้อจากผู้ป่วยเมิร์สรายอื่นๆ


"ส่วนใหญ่ของเคสผู้ติดเชื้อชั้นที่สองนี้ ได้รับเชื้อจากภายในสถานรักษาพยาบาล ที่เป็นหลักคือผู้ที่เคยทำหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วย แต่ก็มีไม่น้อยที่ไปโรงพยาบาลเพื่อรักษาโรคอื่น แต่กลับได้รับเชื้อเมิร์สจากที่นั่น" ดร.อัลวานระบุ
เครดิตระบบสาธารณสุขของของซาอุดีอาระเบียสะเทือนอย่างหนัก ลงเอยด้วยคำสั่งปลด อับดุลลาห์ อัล ราบีอาห์ พ้นตำแหน่งรัฐมนตรีสาธารณสุข เมื่อ 21 เมษายนที่ผ่านมา มอบหมายให้ อัลเดล ฟาคคีห์ รัฐมนตรีแรงงาน มารับตำแหน่งควบอีกตำแหน่ง แต่นั่นยังไม่ใช่คำตอบของคำถามสำคัญที่ว่า ไวรัสเมิร์ส กลายพันธุ์แล้วใช่หรือไม่ ถึงได้ติดต่อง่ายขึ้นและแพร่ระบาดรวดเร็วขึ้นเช่นนั้น? ในวันที่ 26 เมษายน ทีมผู้เชี่ยวชาญของห้องปฏิบัติการในเยอรมนี นำเอาเชื้อไวรัสที่ได้จากผู้ป่วย 3 รายในกลุ่มของผู้ป่วยใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไปตรวจวิเคราะห์เชิงพันธุกรรมจนแล้วเสร็จ สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า องค์ประกอบทางพันธุกรรมของเชื้อเหล่านั้น ไม่ได้มีอะไรแตกต่างจากไวรัสเมิร์สที่เคยระบาดก่อนหน้านี้
 
 
ถ้าอย่างนั้นแล้ว เพราะเหตุใด เมิร์ส ถึงได้มาระบาดหนักเอาตอนนี้? คำถามนี้หาคำตอบได้ไม่ง่ายนัก ด้วยข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่ว่า ซาอุดีอาระเบีย ขาดแคลนทั้งบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเหล่านี้ และขาดแคลนทั้งประสบการณ์ในการรับมือกับ "การแพร่ระบาด" พร้อมกันไปด้วย มีความพยายามให้ความช่วยเหลือจากต่างประเทศอยู่เช่นเดียวกัน แต่นักวิทยาศาสตร์ นักไวรัสวิทยาที่พยายามช่วยเหลือต่างพากันผิดหวังไปตามๆ กัน เพราะซาอุฯไม่มี "ข้อมูล" ที่จำเป็นในการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวให้ ตัวอย่างเช่น ไม่มีการเก็บข้อมูลเรื่องอาชีพของผู้ป่วย ไม่มีบันทึกรายละเอียดของการเดินทางของผู้ติดเชื้อก่อนหน้าการติดเชื้อ ไม่มีรายละเอียดของการสัมผัส "พาหะ" ต้องสงสัย ฯลฯ พูดง่ายๆ ว่า ซาอุดีอาระเบียทำสิ่งที่เรียกกันว่า การสอบสวนโรคน้อยมาก หรือแทบไม่มีเลยก็ว่าได้ ผลก็คือข่าวลือในทางเสียๆ หายๆ สะพัดไปทั่วประเทศ อาทิ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่มีขีดความสามารถเพียงพอ หรือทางการพยายามปกปิด เรื่อยไปจนถึงการละเลยบันทึกการรักษา หายหกตกหล่น ฯลฯ

ก่อนหน้านี้ระหว่างปี 2002-2003 หลายฝ่ายเคยกล่าวหาจีนว่าปกปิดข้อมูล ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับซาร์ส จนแทบทำให้สายเกินการ คราวนี้ทุกฝ่าย แม้องค์การอนามัยโลกเองก็เผชิญกับอุปสรรคอีกอย่าง นั่นคือความไม่รู้ ไม่มีข้อมูล ปัญหาก็คือในกรณีอย่างนี้ ทั้งการปกปิดและความไม่รู้ มักลงเอยด้วยผลลัพธ์อย่างเดียวกัน!

ในกรณีของโรคซาร์ส ต้นตอของการแพร่ระบาด หรือ "พาหะปฐมภูมิ" ของโรคคือ ค้างคาวผลไม้ชนิดหนึ่งในจีน ที่สามารถรับเชื้อไว้ในร่างกายของมันได้โดยไม่แสดงอาการ จากนั้นมันแพร่ระบาดต่อให้กับ "ชะมด" ผ่านตลาดค้าสัตว์ป่าเป็นแห่งหนึ่งที่กว่างโจว จากชะมดไวรัสซาร์สระบาดสู่คนผ่านทางภัตตาคาร "อาหารพิสดาร" แห่งหนึ่ง ซึ่งเสิร์ฟเนื้อชะมดเป็นอาหารขึ้นชื่อ

นักวิทยาศาสตร์มีหลักฐานมากเพียงพอที่จะสรุปว่า "พาหะปฐมภูมิ" หรือ "ไพรมารี โฮสต์" ของเมิร์ส ก็เป็นค้างคาวเช่นเดียวกัน แต่เป็นค้างคาวผลไม้อีกพันธุ์ที่เรียกกันว่า "ค้างคาวสุสานอียิปต์" (Egypt tombbat) ต้นเดือนเมษายนปีนี้ ทีมวิจัยผสมหลากหลายชาติทีมหนึ่งตีพิมพ์ผลงานการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ออกเผยแพร่ สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ว่า แหล่งกำเนิดโรคเมิร์ส คือ อัล อาห์ซา โอเอซิส ทางตะวันออกของประเทศที่เป็นแหล่งปลูกอินทผลัมสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในตะวันออกกลาง อินทผลัม (Date Palm)คือสถานที่สร้างรังของค้างคาวสุสานอียิปต์ครับ จากรังบนยอดสุดของต้นอินทผลัม ไวรัส เมิร์ส ในตัวค้างคาว ระบาดสู่คนได้ในสองทาง ทางแรกที่ก่อให้เกิดการระบาด กระจัดกระจายและมีจำนวนน้อย แต่ก็มีกรณียืนยันได้หลายกรณี ก็คือ เชื้อไวรัสจากค้างคาวผ่านเข้าสู่ "อูฐ" ด้วยวิธีการประการหนึ่งประการใดที่ยังไม่เป็นที่แน่ชัด จากนั้นจึงผ่านสู่คนโดยวิธีการสัมผัสตัวอูฐติดเชื้อ หรือเข้าไปใกล้ชิดในโรงเลี้ยง หรือดื่มน้ำนมอูฐที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไปโดยตรง ผู้แสวงบุญชาวมาเลเซียที่เสียชีวิตลงเพราะเมิร์สรายหนึ่ง เดินทางไปเยี่ยมชมฟาร์มอูฐแห่งหนึ่ง ขณะจาริกแสวงบุญยังซาอุดีอาระเบีย ทั้งยังดื่มนมอูฐเข้าไปด้วยก่อนล้มป่วยด้วยโรคนี้ สัปดาห์สุดท้ายของเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พ่อค้าปศุสัตว์จากอาบูดาบี (ยูเออี) รายหนึ่งป่วยด้วยเมิร์ส หลังเยี่ยมชมฟาร์มอูฐเช่นกัน ผู้ป่วยชาวซาอุฯ ผู้หนึ่งถูกเก็บตัวอย่างเชื้อไปตรวจสอบพบว่า พันธุกรรมของเชื้อไวรัสเมิร์สในตัวเขาตรงกันเป๊ะกับพันธุกรรมของไวรัสเมิร์สในอูฐเลี้ยงของเจ้าตัว ที่สำคัญก็คือ มีการเก็บตัวอย่างนมอูฐไปตรวจสอบ พบว่ามีตัวอย่างเป็นจำนวนมากปนเปื้อนเชื้อไวรัสเมิร์ส!


ทางที่สองที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสเมิร์สในตัวค้างคาวสุสานมาสู่คน เป็นการแพร่ระบาดโดยตรงจากค้างคาวสู่คน ผ่านทางมูลและฉี่ หรือของเสียหรือเมือกอื่นๆ ที่ขับออกมาจากตัวมันสู่คน ซึ่งในที่นี้คือคนงานที่รับผิดชอบในการทำสวนผลไม้ที่เป็นอุตสาหกรรมสำคัญของซาอุดีอาระเบียนี้ คนงานซึ่งส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดเป็นแรงงานนำเข้าจากต่างประเทศ อินทผลัม เป็นไม้สวนที่จำเป็นต้องดูแลอย่างดี เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด เมื่อถึงฤดูกาลออกดอกคนงานสวนจะต้องไต่เดียะขึ้นไปตามต้นของมันทุกต้น เพื่อทำหน้าที่ผสมเกสรตัวผู้เข้ากับเกสรตัวเมีย ให้ได้ครบถ้วนเพื่อให้ติดผลมากที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้ น่าสนใจอย่างยิ่งที่ฤดูกาลผสมเกสรของคนงานสวนอินทผลัมที่อัล อาห์ซา เริ่มต้นตั้งแต่ปลายมีนาคมเรื่อยมาจนถึงเมษายนนี้นี่เอง ในขณะที่เมษาและพฤษภา คือฤดูกาลผสมพันธุ์ของค้างคาวชนิดนี้ ลูกตัวน้อยๆ ของมันจะลืมตาดูโลกในราวเดือนมิถุนายน นี่คือเหตุผลหนึ่งที่สันนิษฐานกันว่า เป็นเหตุให้จำนวนผู้ป่วยเมิร์สในซาอุดีอาระเบียเพิ่มขึ้นอย่างพรวดพราดในเดือนที่ผ่านมา ข้อกังขาก็คือว่า แล้วอย่างนั้น ทำไมเมษาปีที่แล้วถึงไม่เกิดกรณีเดียวกันนี้ขึ้น?

คำตอบก็คือ เมื่อปีที่แล้ว ทางการซาอุดีอาระเบียเพิ่งผ่านกฎหมายแรงงานใหม่ที่เข้มงวดกว่าเดิมออกมาบังคับใช้ ที่ส่งผลให้แรงงานต่างชาติเป็นเรือนหมื่นต้องถูกเด้งออกนอกประเทศ แรงงานภาคเกษตรกรรมได้รับผลกระทบมากที่สุด อินทผลัมปีที่ผ่านมาน้อยกว่าปกติและแพงกว่าปกติมาก จนต้องผ่อนเป็นครั้งๆ ครั้งละ 30 วันกันในตอนนี้ ในเดือนมิถุนายน คนงานสวนจะได้สัมผัสกับอินทผลัมตั้งแต่โคนจนถึงยอดสุดอีกครั้ง ตอนนั้น ดอกที่ติดเป็นผลจะโตเต็มที่คนงานจะต้องขึ้นไปจัดการไล่ทั้งค้างคาวและศัตรูพืชอื่นๆ พร้อมกับครอบพวงอินทผลัมด้วยตาข่ายป้องกัน ก่อนที่จะต้องปีนขึ้นไปเพื่อเก็บเกี่ยวผลกันอีกครั้งในหน้าร้อน ถ้าข้อสันนิษฐานนี้ไม่ผิด และยังไม่มีมาตรการคุ้มกันใดๆ เมิร์สจะระบาดอีกครั้งในสองช่วงเวลานั้น!

เมื่อมีการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีสาธารณสุขนั้น แบบแผนการรับมือกับเมิร์สก็เปลี่ยนตามไปด้วย ผู้ป่วยเมิร์สทั่วประเทศได้รับคำสั่งให้เคลื่อนย้ายสู่โรงพยาบาลคิง ซาอุด ทางตอนเหนือของนครเจดดาห์ เพื่อดูแลผู้ป่วยภายใต้สภาวะควบคุมการติดเชื้อเข้มงวดทั้งหมด ก่อนหน้านั้น สถานการณ์ในโรงพยาบาลหลายๆ แห่งเป็นเหมือนฝันร้ายของทุกคน ไม่เว้นกระทั่งหมอและพยาบาล เมื่อ 1 เมษายน ที่โรงพยาบาล คิง ฟาฮัด ในเจดดาห์เช่นเดียวกัน แพทย์ 1 พยาบาลอีก 6 คน ล้มป่วยด้วยเมิร์ส สร้างความโกลาหลไปทั่วโรงพยาบาล สาหัสถึงขั้นแพทย์และพยาบาลบางคนยื่นใบลาออก ! ทั้งหมดสะท้อนการขาดความชำนาญการ ขาดองค์ความรู้และประสบการณ์อย่างเด่นชัด ทางการยังยืนยันใน "มาตรฐานสากล" ของโรงพยาบาลในวันที่ 15 เมษายน แต่อีก 6 วันให้หลังจำนวนผู้ป่วยเฉพาะในเจดดาห์เพิ่มขึ้นอีก 49 ราย แทบทั้งหมดติดเชื้อจากคนสู่คนทั้งสิ้น

ตัวอย่างความไร้เดียงสาของผู้เชี่ยวชาญซาอุดีอาระเบียก็คือ การยืนกรานว่า เพียงแค่สวมหน้ากากปิดปากปิดจมูก ก็ป้องกันเมิร์สได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ข้อเท็จจริงก็คือ เมิร์ส แพร่ได้แม้การสัมผัสมือ สัมผัสพื้นผิวที่เปื้อนเชื้อ ผ่านสเตรทโตสโคป กระทั่งถุงมือยาง เจ้าหน้าที่สถานพยาบาลที่ผ่าน "สงครามซาร์ส" มาล้วนซาบซึ้งเรื่องนี้เป็นอย่างดี ที่เวียดนาม ซาร์ส ไม่หยุดระบาดจนกระทั่ง ผู้ป่วยทั้งหมดถูกย้ายออกจากโรงพยาบาลหรู "เฟรนซ์ ฮอสพิทัล" ติดแอร์ทั้งหลัง ไปอยู่โรงพยาบาล บัคมาย เก่าๆ สมัยสงคราม หน้าต่างเปิดโล่ง มีเพียงพัดลมเพดานระบายอากาศเท่านั้น แต่ไม่มีสภาพอากาศปิดให้เป็นแหล่งบ่มเพาะเชื้ออีกต่อไป!

คําถามสุดท้ายที่ต้องถามกันก็คือ "เมิร์ส" มีโอกาสระบาดไปทั่วโลกเหมือน "ซาร์ส" หรือไม่? คำตอบเมื่อเทียบเคียงซาอุดีอาระเบียเข้ากับจีนแล้วก็คือ มี มีไม่น้อยเลยทีเดียว โอกาสอาจน้อยลงกว่านี้ถ้าซาอุดีอาระเบีย เป็นประเทศยากจนสักประเทศในแอฟริกา หรือละติน แต่นี่คือประเทศมั่งคั่ง มีการติดต่อไปมาหาสู่ มีคนงานต่างชาติเข้าไปทำงานอยู่มากมายจากหลากหลายประเทศ ทั้งยังมีเมกกะ... ปัญหาก็คือ ทำอย่างไรถึงจะจำกัดไม่ให้การระบาดเกิดขึ้นใน 31 ประเทศ มีผู้ป่วยกว่า 8,000 รายเหมือนในกรณีของซาร์ส อย่าลืมว่า "เมิร์ส" ร้ายแรงกว่า ซาร์ส อย่างน้อย 3 เท่าตัวนะครับ!

http://www.pharmacafe.com/board/viewtopic.php?f=2&t=52116&sid=693f75093c38ae5b16beb8b743691774
http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... catid=0200

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การป้องกันและลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่

เป็นหวัดป้องกันได้ด้วยการกิน

ภาวะอากาศของไทยและทั่วโลกเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง ทำให้หลายคนมีปัญหาสุขภาพกันมากขึ้น โดยเฉพาะโรคหวัด ส่วนจะเป็นมากเป็นน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิต้านทานในร่างกายของแต่ละคน ถ้าหากว่าร่างกายอ่อนแอหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็มักจะถูกเจ้าเชื้อไวรัสหวัดจู่โจมได้ง่ายๆ




 
 
สำหรับปัจจัยที่ช่วยในการป้องกันหวัดที่ให้ผลเสมอก็คือหมั่นล้างมือให้สะอาดและใช้ช้อนกลาง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เสริมภูมิต้านทานให้ร่างกายด้วยอาหารที่มีสารอาหารในการป้องกันหวัด เช่น อาหารที่มีวิตามินซีสูง ดื่มน้ำมากๆ ทั้งนี้ มีอาหารหลายชนิดที่อาจให้ผลในการช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน ป้องกันหรือลดความรุนแรงของหวัด ดังนี้

๑. อาหารรสเผ็ดรวมทั้งเครื่องเทศ เช่น กระเทียมต้นหอม พริก ลดอาการคัดจมูก ช่วยให้หายใจโล่งขึ้น

๒. กระเทียม ช่วยลดอาการหวัดจะเติมลงในอาหารหรือเคี้ยวสดๆ วันละ ๑-๒ กลีบก็ได้

๓. ดื่มน้ำมากๆ แทนที่จะดื่มกาแฟ น้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มที่มีรสหวาน อาจดื่มน้ำผลไม้คั้นสดบ้างเพื่อเสริมวิตามินซี เครื่องดื่มร้อนที่ช่วยได้ เช่น ชา น้ำมะนาวอุ่นๆ จะช่วยลดเสมหะได้

๔. ซุปไก่ร้อนๆ ช่วยลดอาการคัดจมูก อาจเติมผักหลายๆ สี เพื่อเพิ่มสารแอนติออกซิแดนต์ ทำให้ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพดี

๕. สารต่อต้านอนุมูลอิสระ เช่น บีตาแคโรทีน(วิตามินเอ) วิตามินซี วิตามินอี ช่วยกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ป้องกันการติดเชื้อ ผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง เช่น แครอต ผักใบเขียวจัด ส้ม ฝรั่ง องุ่น แคนตาลูป มะละกอสุก เป็นต้น
 


ที่มา : facebook มูลนิธิหมอชาวบ้าน






+++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 

หลักการพื้นฐานว่าอาการของไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย ไม่สามารถรักษาด้วยยาปฎิชีวนะเพื่อทำลายเชื้อโรค ต้องหาทางสร้างภูมิต้านทานแก่ร่างกาย ให้ร่างกายฟื้นฟูระบบภูมิต้านทานกำจัดเชื้อไวรัสในร่างกายด้วยตัวเอง การเลือกทานอาหารแบบง่ายๆ จะบรรเทาอาการคัดจมูก หายใจโล่ง ได้ด้วยความร้อนแรงของรสชาด กลิ่นแรงระเหยเข้าจมูก ตลอดจนอาหารบางประเภทที่เร่งสร้างภูมิคุ้มกัน ... นอกเหนือจากนี้ อาจรับประทานวิตามินซี ขนาด 1 กรัม วันละครั้ง ทุกวัน ก็สามารถเพิ่มความต้านทานของร่างกายได้เช่นกัน

 
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 
ไม่มีอะไรที่ฆ่าหรือทำลายเชื้อไวรัสไข้หวัดจริงๆหรือ ?

จากการวิจัยที่พบว่าอากาศบริสุทธ์ตามธรรมชาติ เช่น ในป่า บนภูเขา เราจะตรวจพบปริมาณไอออนในอากาศ มีทั้ง บวก (+) และ ลบ (-) ในปริมาณที่สูงมากๆ โดยจำนวนไอออนทั้งสองประเภทนี้จะมีมากในจำนวนที่เท่าๆกันด้วย
 
หากเราตรวจสอบปริมาณไอออนบวก (+) และ ลบ (-) ในที่มีมลพิษสูง เช่น ในเมือง ตามถนน ผลการวิจัยพบว่าปริมาณไอออนเหล่านี้จะน้อยกว่าที่ควรจะมี เกือบ 10 เท่าตัวเลยทีเดียว
 
ทำให้นักวิจัยคิดค้นวิธีการสร้างไอออนทั้งสองประเภทขึ้นมา เลียนแบบกลไกสร้างอากาศบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ แต่เทคโนโลยี่ทางวิศวกรรมยังไม่สามารถเป็นไปได้ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา โดยนักประดิษฐ์สามารถทำได้แค่การสร้างไอออนบวก (+) หรือ ไอออนลบ (-) ออกมาได้เพียงอย่างเดียว อยากมีบ้างที่สร้างได้ทั้งคู่แต่ในปริมาณที่สูงไม่เท่ากัน

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี่ในศตวรรษที่ 21 ทำให้มนุษย์เราคิดค้นระบบสร้างไอออน เลียนแบบอากาศบริสุทธิ์ในธรรมชาติได้แล้ว โดยนักประดิษฐ์ของชาร์ป คอร์ปอเรชั่น ได้คิดค้นสร้างเครื่องกำเนิดไอออน ที่มีขนาดเท่ากล่องไม้ขีด อันทำงานแตกต่างจากเครื่องกำเนิดไอออนที่มีมาในอดีต กล่าวคือ เครื่องกำเนิดอนุภาคไอออนนี้ สามารถสลายไอน้ำ (H2O) ที่อยู่ในอากาศ มาทำให้เกิดไอออนบวก (+) และ ไอออนลบ (-) ในปริมาณที่สูงมากๆและในปริมาณที่เท่ากันอีกด้วย
 
 
เมื่อนักประดิษฐ์สามารถสร้างเครื่องกำเนิดไอออน ทำให้เกิดไอออนบวก (+) และ ไอออนลบ (-) ออกมาได้เหมือนธรรมชาติแล้ว แต่การเลียนแบบธรรมชาตินี้ จะทำให้อากาศสะอาดบริสุทธิ์ได้อย่างไร เป็นสิ่งที่เขาต้องศึกษาต่อ เพื่ออธิบายต่อชาวโลกว่า อากาศสะอาดเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ไปมีผลอย่างไร ทำให้อากาศสะอาดบริสุทธิ์ขึ้นมาได้  เมื่อได้คำตอบอันน่าพิศวงนี้แล้ว  จึงจะนำมาก่อเกิดประโยชน์ต่อมนุษยชาติอย่างแท้จริง   

 
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

จากการศึกษาของนักวิจัยชาร์ปพบว่า ไอออนบวก (+) กับ ไอออนลบ (-) ที่เกิดขึ้นมานี้ เมื่อล่องลอยในอากาศ จะรวมตัวกันเป็นอนุภาคไม่คงตัวที่ชื่อว่า แอคทีฟ ไฮดรอกซิล (active OH)  ไอ้เจ้าตัวนี้แหละที่เป็นพระเอก เพราะเมื่อมันเจอเชื้อโรคที่ไหน มันก็จะฆ่าเชื้อโรคที่นั่นทันที
 
 
วิธีการฆ่าเชื้อโรคก็แสนง่าย เพียงแค่ แอคทีฟ ไฮดรอกซิล (active OH) ไปทำลายผนังชั้นนอกของเชื้อโรค เชื้อโรคก็ตายแหงแก๋ อะไรมันจะง่ายปานนั้น เพราะเชื้อโรคบางตัวแข็งแรงจะตาย ขนาดเจอยาปฎิชีวนะ ก็ยังทำลายไม่ได้เลย แล้วทำไม แอคทีฟ ไฮดรอกซิล นี้ถึงทำลายเชื้อโรคในอากาศได้เก่งขนาดนี้เชียว

 
 
เขาศึกษาต่อ พบว่าผนังชั้นนอกของเชื้อโรคเหล่านี้ มีความเปราะบาง (ให้นึกถึงลูกโป่งใส่น้ำ) มีส่วนประกอบของไฮโดรเจนอะตอม ยึดกันเป็นผนังอยู่ ความที่พระเอกชื่อ แอคทีฟ ไฮดรอกซิล (active OH) มีความสามารถพิเศษ สามารถไปดึงไฮโดรเจนอะตอม (H atom) ออกจากผนังชั้นนอกนี้ได้ดี (เสมือนการเอาเข็มไปแทงลูกโป่งใส่น้ำ ก็จะแตกทันที)  เชื้อโรคก็จะแตกสลายในทันทีทันใด

 

แล้วสิ่งที่พูดมาเป็นเรื่องจริงหรือเปล่า ก็มีการทดสอบยืนยันที่อเมริกา ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ด้วยวิธีการวิเคราะห์แยกสารที่มีไฟฟ้าขั้นสูง (3D electrophoresis) พบว่าผนังชั้นนอกของเชื้อโรคนี้ได้ถูกทำลายจริง

 
การที่อากาศสะอาดบริสุทธิ์ธรรมชาติ มีปริมาณไอออนบวก (+) และ ไอออนลบ (-) ในปริมาณสููงมากๆและเท่าๆกันนี่เอง ทำให้ไม่พบเชื้อโรคคงตัวอยู่ได้ในอากาศ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ว่าแต่เชื้อโรคทุกชนิดจะเหมือนกันหมดหรือ  ???

เราส่องกล้องจุลทรรศน์อีเล็คตรอนก็จะเห็นได้ว่า โครงสร้างพื้นฐานของเชื้อโรคเหมือนกันไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา กล่าวคือมีผนังชั้นนอกห่อหุ้มเหมือนกัน และข้างในก็เป็นของเหลว (ให้นึกถึงลูกโป่งใส่น้ำ) ความแตกต่างจะอยู่ความหนาหรือสิ่งที่อยู่ในของเหลวเท่านั้น  ส่วนประกอบของผนังชั้นนอกก็เหมือนกันหมดคือมีไฮโดรเจนอะตอม (H atom) เป็นแกนยึดผนังให้คงเป็นรูปร่าง  ฉะนั้น แอคทีฟ ไฮดรอกซิล (active OH) จึงสามารถทำลายผิวชั้นนอกของเชื้อโรคได้ทุกชนิด ตายซากไม่เหลือหรอ

ตัวอย่างของเชื้อโรคต่างๆที่ทำให้เกิดโรคในคน ในภาษาชาวบ้าน เช่น

เชื้อไวรัส  
เชื้อไวรัสไข้หวัด  เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่  เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เชื้อไวรัสไข้หวัดนก  เชื้อไวรัสเมิร์สคอฟ  เชื้อไวรัสโคโรน่า  เชื้อไวรัสซาร์ส


เชื้อแบคทีเรีย   เชื้อวัณโรค  เชื้อปอดบวม  เชื้อปอดอักเสบ  เชื้อแผลฝีหนอง

 
เชื้อรา  เชื้อราขาว  เชื้อราดำ

 
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เมื่อนักวิจัยชาร์ปพบข้อเท็จจริงที่ว่า แอคทีฟ ไฮดรอกซิล (active OH) สามารถทำลายเชื้อโรคในอากาศได้อย่างสิ้นเชิง  ก็มาถึงส่วนยากกว่าคือ  การพัฒนาเครื่องกำเนิดไอออนนี้ให้สร้างไอออนได้อย่างต่อเนื่อง  และสามารถใส่เข้าอุปกรณ์ที่มีมอเตอร์พัดลม ช่วยเป่าไอออนบวก (+) และ ไอออนลบ (-) ปริมาณสูงเหล่านี้ไปครอบคลุมพื้นที่ได้อย่างต่อเนื่อง  เนื่องจาก แอคทีฟ ไฮดรอกซิล (active OH) ไม่คงตัว อยู่ในอากาศได้แค่ 5 วินาทีเท่านั้น

จึงเป็นที่มาของการพัฒนากล่องเท่ากลัดไม้ขีดดังกล่าว มาเป็น เครื่องกำเนิดอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ (Plasmacluster ion generator) เครื่องกำเนิดอนุภาคนี้สามารถพ่นไอออนบวก (+) และ ไอออนลบ (-) ได้เท่าๆกันและต่อเนื่อง จึงนำมาใส่ในเครื่องฟอกอากาศที่มีมอเตอร์พัดลม เป่าไอออนทั้งคู่ออกมาจากเครื่อง กระจายครอบคลุมทั่วห้อง ทุกซอกมุมที่ลมพ่นไปได้ถึง (ภายใน 5 วินาที)  เสมือนเกิด Plasmacluster zone ที่เชื้อโรคไม่สามารถคงอยู่ได้เมื่อเข้ามาในอาณาเขตนี้

 
นับเป็นนวตกรรมของการทำให้อากาศสะอาดบริสุทธิ์แบบธรรมชาติ  ด้วยการใช้เครื่องฟอกอากาศระบบพลาสม่าคลัสเตอร์ (Plasmacluster air purifier)  ที่มีการฆ่าเชื้อโรคทางอากาศ  เพิ่มเติมจากเครื่องฟอกอากาศทั่วไปที่มีแค่แผ่นกรองอากาศระดับ HEPA เท่านั้น

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อ้าวววว  แล้วเครื่องฟอกอากาศทั่วไป ก็ทำได้แค่กรองเองซิ  ไม่สามารถทำลายเชื้อโรคได้เนี่ย

ชื่อจริงของเครื่องฟอกอากาศก็คือ เครื่องกรองอากาศ นั่นเอง แต่คนทั่วไปเรียกรวมๆกันว่า เครื่องฟอกอากาศ  หลักการของมันคือ ใช้แผ่นกรองในการกรองอากาศ (ที่ถูกดูดเข้าไปในเครื่อง) แล้วใช้แผ่นกรองดักจับมลพิษ ไม่ว่าจะเป็น กลิ่น ฝุ่น เชื้อบางชนิด  ไม่ได้มีการทำลายแต่อย่างไร  (ให้นึกถึงการใช้แหดักจับปลา ยังไงยังงั้น) 

การใช้เครื่องกรองอากาศต้องมีการเปลี่ยนแผ่นกรองเมื่อมันตัน บ้านเราอาจต้องเปลี่ยนทุก 2-3 เดือนด้วยซ้ำ เนื่องจากมีฝุ่นมากๆในตัวเมือง  หากไม่มีการเปลี่ยนแผ่นกรองที่อุดตัน  เครื่องกรองอากาศเหล่านี้ก็เป็นแค่เฟอร์นิเจอร์ชิ้นหนึ่งที่เก็บกักเชื้อโรค ฝุ่น อยู่ในภายเครื่อง  หากฝืนใช้งานต่อ ทำให้แผ่นกรองขาด เครื่องนี้ก็จะทำงานเป็นเครื่องพ่นฝุ่น พ่นเชื้อโรค แทนซะงั้น 

การมีแผ่นกรองหลายชั้นก็อาจเพิ่มประสิทธิภาพในการกรอง  ขณะเดียวกันก็ต้องมีการเปลี่ยนแผ่นกรองมากขึ้น  ค่าใช้จ่ายก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย  (บางครั้ง ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแผ่นกรองจะสูงกว่าราคาเครื่องกรองอากาศด้วยซ้ำ แค่ใช้เพียงปีเดียว )

 
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

พัฒนาพลาสม่าคลัสเตอร์มาใช้เป็นระบบฆ่าเชื้อโรคในอากาศได้อย่างไร ???

การพัฒนาเครื่องกำเนิดอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ (Plasmacluster Ion Generator) เริ่มจากรุ่นที่ 1 จนกระทั่งรุ่นที่ 7.5  ปัจจุบันสามารถผลิตไอออนได้สูงและต่อเนื่อง เป็นที่นิยมนำมาใช้ฆ่าเชื้อโรคในโรงพยาบาล โรงงาน โรงแรม ศูนย์การค้า ที่มีการแพร่กระจายของมลพิษสูงกว่าบ้านที่อยู่อาศัย  เราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Plasmacluster Air Sterilizer 





จากการที่พื้นที่สาธารณชนหรือพื้นที่ควบคุมให้ปราศจากเชื้อโรค ไม่สามารถนำเครื่องโอโซน (Ozone) มาใช้ในพื้นที่ที่มีคนทำงานอยู่ได้  เป็นปัญหาเดียวกับการนำแสงอัลตร้าไวโอเล็ต (Ultraviolet) มาใช้ไม่ได้เช่นกัน เพราะทั้งสองตัวนี้เป็นพิษต่อร่างกายคน  เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในระยะยาวด้วย  การนำเครื่องฆ่าเชื้อโรคระบบพลาสม่าคลัสเตอร์ (Plasmacluster Air Sterilizer) เป็นทางเลือกที่ถูกนำมาใช้งาน ณ ปัจจุบัน


การทดสอบที่อเมริกา พบว่าอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ (Plasmacluster ion) สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียตัวอย่าง ที่พ่นเข้าไปในห้องทดสอบเสมือนจริง  ขนาด 40 ลบ.ม. ได้ถึง 99.0% ภายในเวลา 38 นาที

นอกจากนี้ยังมีการทดสอบประสิทธิภาพของการฆ่าเชื้อโรคอีกมากมายจากสถาบันวิจัยทั่วโลก อาทิเช่น สถาบันไวรัสวิทยารีโทรสกรีน (Retroscreen Virology Center, England) , สถาบันโรคทรวงอก  ยืนยันว่าอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ทำลายได้ รวมถึงเชื้อโรคสายพันธ์ใหม่ อาทิเช่น โคโรน่าไวรัส ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ ไวรัสไข้หวัดนก รวมถึง เชื้อวัณโรค ที่จัดว่าเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อด้านต่อการทำลายด้วยยาปฎิชีวนะ แถมทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีที่สุดอีกด้วย


แหล่งที่มา   http://www.thaichest.org/atat3/index.php?option=com_content&view=article&id=77:312&catid=30:articles&Itemid=42