วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

SHARP PLASMACLUSTER TECHNOLOGY HAS BEEN TESTED AND SHOWN TO DECREASE THE RISK OF TB INFECTION IN TB HOSPITAL FOR THE 1ST TIME.

SHARP PLASMACLUSTER TECHNOLOGY HAS BEEN TESTED AND SHOWN TO DECREASE THE RISK OF TB INFECTION IN TB HOSPITAL FOR THE 1ST TIME.


In a world’s first groundbreaking study, SHARP’s Plasmacluster technology has been tested and shown to decrease the risk of Tuberculosis (TB) infection by a significant degree.

SHARP has collaborated with the World Health Organization (WHO) Global Health Workforce Alliance National Center of Tuberculosis and Lung Disease in Tbilisi, Georgia, to conduct a Plasmacluster technology effectiveness test on healthcare workers and TB patients.

The results showed a 75%*1 decreased risk of TB infection among healthcare workers and a 78%*2 prevention of Acquired Drug Resistance on TB patients by comparing subjects with and without exposure to specially designed Plasmacluster Ion Generators emitting 100,000 ions/cm3.

SHARP’s Plasmacluster has already been proven to effectively suppress virus, bacteria, mould, odour, allergens, and other infectious viruses.


Reference :

1. Results of reduced risk of tuberculosis infection for healthcare workers88 healthcare workers were tested for Tuberculosis bacteria using QuantiFERON-TB Gold In-Tube (QFT)*3. 32 of the healthcare workers who did not carry the bacteria were tested again after 6-8 months using QFT test. Healthcare workers in the 100,000/cm3 PCI device setting decreased their risk of getting latent Tuberculosis infection by 75% compared with those who were not in the PCI device setting.


2. Prevention of Acquired Drug Resistance in Tuberculosis Hospital Patients155 Tuberculosis culture positive patients in the Drug Sensitive department received the Drug Susceptibility Testing (DST)*4. After a 3 months period, 49 patients who remained culture positive received DST again. Those who were in the 100,000/cm3 PCI device setting showed 78% of prevention in acquired drug resistance compared to those who were not in the PCI device setting.

3. QuantiFERON-TB Gold In-Tube is a test for detection Latent Tuberculosis Infection (LTBI) using a blood sample. It came into use in 2007.

4. Drug Susceptibility Testing is a test used to determine which medicine to administer to patients who carry the tuberculosis bacteria.

วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560

Plasmacluster Ion Technology truly helps decrease the spread of Tuberculosis and aid culture positive patients in repressing ADR.

Sharp and the WHO Global Health Workforce Alliance National Center of Tuberculosis and Lung Disease put together a team of experts to test and study the power of the Plasmacluster Ion Technology in preventing the spread and infection of Tuberculosis.

For both groups, the experiment came in with favorable results. The Plasmacluster Ion Technology reduced the risk of healthcare workers to carry the Tuberculosis bacteria. Only 1 out of 10 workers in the PCI-protected area tested as a positive carrier. The rooms without PCI resulted to 6 out of 15 positive carriers.
Results for ADR-positive patients decreased as well. The Plasmacluster Ion Technology-equipped room only generated 1 out of 25 patients. The rooms without the devices resulted to 4 out of 19 affected patients.

These results only prove that the Plasmacluster Ion Technology truly helps decrease the spread of Tuberculosis and aid culture positive patients in repressing ADR. These impressive findings paved the way for the researchers to secure an invitation to the 21st Congress of Asian Pacific Society of Respirology.


References:
George Schiffman, F. (2016). Tuberculosis Causes, Symptoms, Treatment - What Are Causes of Tuberculosis? - eMedicineHealtheMedicineHealth. Retrieved 10 October 2016, from http://www.emedicinehealth.com/tuberculosis/page2_em.htm
Sharp Corporation.,Plasmacluster Technology Proven to Decrease Risk of Tuberculosis Infection in Tuberculosis Hospital for the First Time. 2016. Print.
Tuberculosis (TB). (2016). World Health Organization. Retrieved 10 October 2016, from http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs104/en/
World Vision Philippines. N.p., 2016. Web. 15 Sept. 2016.

ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR-TB) 450 ราย ค่ายารักษาผู้ป่วย XDR-TBสูงถึง 1.2 ล้านบาทต่อราย แต่มีอัตราการรักษาหายต่ำ

เห็นชอบร่างประกาศสธ. ให้วัณโรคดื้อยารุนแรง เป็นโรคติดต่ออันตราย


คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการที่สำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ... ให้วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก(XDR-TB)เป็นโรคติดต่ออันตราย ภายใต้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558
​          
นายแพทย์ธวัช สุนทราจารย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2560 และให้สัมภาษณ์ว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการที่สำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ... ให้วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก(XDR-TB)เป็นโรคติดต่ออันตราย ภายใต้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 โดยมอบให้กรมควบคุมโรค นำข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ไปปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติงานรองรับเมื่อประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้
การประกาศให้วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR-TB) เป็นโรคติดต่ออันตราย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยโรคนี้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานสากล รวมถึงการนำผู้สัมผัสโรค มารับการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว และเข้าสู่กระบวนการรักษาพยาบาลได้ทันที โดยการประกาศเป็นโรคติดต่ออันตราย จะทำให้สามารถใช้ข้อมูลเท่าที่จำเป็นของผู้ป่วยเพื่อประโยชน์ในการควบคุมวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก ลดการแพร่กระจายของเชื้อวัณโรคในหมู่ประชาชน ตลอดจนเพิ่มความครอบคลุมในการค้นหาและตรวจคัดกรองผู้สัมผัสโรค และสนับสนุนช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวให้ได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติ
ทั้งนี้ จากรายงานองค์การอนามัยโลก ปี 2559 พบว่า ประเทศไทยติดอันดับในกลุ่ม 14 ประเทศที่มีปัญหาภาระวัณโรคสูงทั้งวัณโรคทั่วไป วัณโรคร่วมกับการติดเชื้อเอชไอวี และวัณโรคดื้อยาหลายขนาน องค์การอนามัยโลก คาดประมาณจำนวนผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทย มีประมาณ 120,000 รายมีผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB) 4,500 ราย และผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR-TB) 450 ราย ค่ายารักษาผู้ป่วย XDR-TBสูงถึง 1.2 ล้านบาทต่อราย แต่มีอัตราการรักษาหายต่ำ ผู้ป่วยXDR-TB มักมีประวัติการรักษาไม่สม่ำเสมอหรือขาดการรักษามาก่อน ทำให้เกิดการดื้อยาเพิ่มขึ้นถึงระดับรุนแรงมาก

วัณโรค เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis ติดต่อสู่คน โดยสูดอากาศที่มีตัวเชื้อนี้เข้าไป โดยเชื้อชนิดนี้ทนอากาศแห้งได้และแฝงอยู่ในฝุ่นละอองได้นาน

วัณโรค เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis ติดต่อสู่คน โดยสูดอากาศที่มีตัวเชื้อนี้เข้าไป โดยเชื้อชนิดนี้ทนอากาศแห้งได้และแฝงอยู่ในฝุ่นละอองได้นาน
วัณโรคมักเป็นที่ปอดมากกว่าที่อื่น เช่น ลำไส้ ตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลือง ผิวหนังและเยื่อหุ้มสมอง โดยวัณโรคปอด มักพบในผู้สูงอายุ ผู้มีร่างกายอ่อนแอ พักผ่อนไม่เพียงพอ ภูมิต้านทานต่ำ ซึ่งอาจจะเกิดจากตัวโรคที่ผู้ป่วยเป็น เช่น เอดส์ หรือได้รับยากดภูมิต้านทาน


องค์การอนามัยโลก จัดไทยติดอันดับ 1 ใน 14 ประเทศมีปัญหาวัณโรค ซึ่งโรคนี้ยังถือเป็นโรคที่ดื้อยาในหลายขนาน แต่ละปีจะพบผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 120,000 คน และเสียชีวิตมากกว่า 13,800 คน
ที่สำคัญคาดว่า ผู้ป่วยมีอาการดื้อยาหลายขนานมากถึง 4,500 คน ที่เข้ารักษา ปัจจุบันมีวัณโรคดื้อยาหลายขนาน หมายถึง เชื้อวัณโรคที่พัฒนาการดื้อต่อยาอย่างน้อย 2 ชนิด
ทั้งนี้ ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ในการตรวจค้นพบผู้ป่วย ทำให้ทราบผลรวดเร็วขึ้นจาก 6-8 สัปดาห์ เป็นภายใน 1 สัปดาห์ ว่าเชื้อวัณโรคดื้อยาหรือไม่ ทำให้แพทย์เลือกใช้ยาและปรับชนิด-ขนาดยารักษาได้เหมาะสม ส่งผลให้ประสิทธิภาพการรักษาดียิ่งขึ้น และลดเกิดผลข้างเคียงจากยา นอกจากนี้ ยังลดโอกาสเกิดการดื้อยาของผู้ป่วยบางรายได้ด้วย
การค้นหาผู้ป่วยและรีบรักษาทันทีนั้น ถือว่าเป็นการป้องกันการแพร่กระจายที่ดีที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่จะป่วยวัณโรคดื้อยา ได้แก่ ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา ผู้ต้องขัง ติดเชื้อเอดส์ ผู้ป่วยวัณโรคที่กลับมาเป็นซ้ำ ผู้ป่วยวัณโรคที่ขาดยาหรือรักษาไม่ต่อเนื่อง ผู้ป่วยวัณโรคที่กำลังรักษาและผลรักษาไม่ดีขึ้น
ยาในปัจจุบันนับว่ามีประสิทธิภาพแต่ต้องใช้หลายชนิดจึงจะฆ่าเชื้อได้และการรักษาที่ได้ผล จำเป็นที่ผู้ป่วยต้องรับประทานยาสม่ำเสมอและต่อเนื่องอย่างน้อย 6-9 เดือน ในกรณีเป็นวัณโรคดื้อยาอาจต้องใช้เวลาเกือบ 2 ปี
การรักษาจะได้ผลดี จะต้องรีบรักษาตั้งแต่เริ่มแรกและต้องดูแลสุขภาพ พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารมีโปรตีนสูงและวิตามิน เพื่อช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรคได้
ขณะผู้ที่เป็นในระยะที่เริ่มรักษาโดยเฉพาะ 2 สัปดาห์แรกควรหลีกเลี่ยงคลุกคลีใกล้ชิดผู้อื่น โดยเฉพาะเด็กและคนชรา รวมถึงเดินทางในที่สาธารณะที่มีผู้คนแออัด หลีกเลี่ยงเดินทางด้วยยานพาหนะผู้อื่นในระยะเวลานาน ตั้งแต่ 8 ชั่วโมงขึ้นไปด้วย เพื่อป้องกันวัณโรคแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้
องค์การอนามัยโลกชี้ว่า เป้าหมายในการหยุดยั้งการแพร่ระบาดของวัณโรคให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2030 ตามเเนวนโยบายว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ มีความคืบหน้ามากขึ้น
และองค์การอนามัยโลกหรือ WHO รายงานว่า ตั้งเเต่ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา งานปราบปรามวัณโรคได้ช่วยรักษาชีวิตคนไว้ได้ 49 ล้านคนทั่วโลก แต่ได้ย้ำด้วยว่ายังมีงานต้องทำอีกมาก
ข้อมูลตัวเลขจากปี 2015 ชี้ว่า มีคนมากกว่า 10 ล้าน 4 แสนคนล้มป่วยด้วยวัณโรคทั่วโลก และเสียชีวิตอย่างน้อย 1 ล้าน 8 เเสนคน โดยผู้ติดเชื้อเเละเสียชีวิตส่วนมากอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา
ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า 2 ใน 3 ของจำนวนผู้ป่วยเชื้อวัณโรคทั่วโลก อยู่ในหกชาติ ได้เเก่ อินเดีย อินโดนีเซีย จีน ไนจีเรีย ปากีสถาน และแอฟริกาใต้
บรรดาแพทย์ได้เตือนถึงปัญหาวัณโรคดื้อยาชนิดใหม่ และย้ำว่าต้องใช้ยาปฏิชีวนะบำบัดวัณโรคด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวัณโรคดื้อยาสายพันธุ์ใหม่
นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลกชี้ว่าทัศนคติทางลบทางสังคม เเละความรังเกียจต่อผู้ป่วยวัณโรค เป็นอุปสรรคต่องานปราบปรามวัณโรค
Ernesto Jaramillo เจ้าหน้าที่การแพทย์ประจำโครงการ Global TB ขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า "คนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรค อาทิ ผู้อพยพย้ายถิ่น ผู้ต้องขัง คนกลุ่มน้อย ผู้หญิงเเละเด็กยากจน เป็นกลุ่มคนที่เสี่ยงมากที่สุดต่อการเอาเปรียบ ถูกสังคมละเลยเเละถูกปฏิเสธ ปัญหานี้ทำให้คนเหล่านี้ไม่เข้ารับการรักษาวัณโรค"
Jaramillo เจ้าหน้าที่การแพทย์ประจำโครงการ Global TB แห่งองค์การอนามัยโลกกล่าวว่า "การมีอุปกรณ์ใหม่ๆ ใช้ในการวินิจฉัยและบำบัดวัณโรคยังไม่เพียงพอ หากยังขาดมาตรฐานที่ชัดเจน ในการสร้างความมั่นใจว่ากลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการติดวัณโรคเหล่านี้เข้าถึงการบริการตรวจโรคเเละการบำบัดที่ทันสมัยนี้ อย่างเท่าเทียมกับคนกลุ่มอื่นๆ ในสังคม ซึ่งจะส่งเสริมให้นโยบายหยุดยั้งวัณโรคเป็นผลดีต่อสุขภาพของประชาชนทุกคน"
ด้าน Mario Raviglione ผู้อำนวยการโครงการ Global TB แห่งองค์การอนามัยโลกกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า "ไม่มีประเทศใดในโลกไม่ว่าจะร่ำรวยหรือยากจน ปลอดจากความเสี่ยงต่อการระบาดของวัณโรค เขาเตือนว่าผู้ป่วยวัณโรคที่ยากจนถือเป็นอันตราย"
และว่า "เราไม่สามารถกำจัดวัณโรคด้วยการสร้างกำแพงกั้นหรือด้วยการปิดกั้นตนเองจากโลกภายนอก วัณโรคเป็นโรคที่ติดต่อผ่านทางลมหายใจ และคนเราเดินทางไปต่างประเทศทางอากาศซึ่งสะดวกรวดเร็ว และอาจนำโรคติดต่อไปด้วยโดยไม่รู้ตัว"
ดังนั้นเราจึงต้องหาทางรับมือกับโรคติดต่อร้ายเเรงนี้ด้วยมุมมองระดับนานาชาติ
เเนวทางด้านจริยธรรมใหม่ขององค์การอนามัยโลก รวมไปถึงการการเเก้ปัญหาความรังเกียจทางสังคม การเลือกปฏิบัติต่อ ตลอดจนการกีดกันทางสังคมต่อคนที่ติดเชื้อวัณโรค
องค์การอนามัยโลกชี้ว่า การปกป้องสิทธิมนุษยชนของคนที่ติดเชื้อทุกคน จะช่วยป้องกันคนอีกมากมายจากการเสียชีวิต และยังช่วยให้การกำจัดวัณโรคให้หมดไปจากโลกมีความเป็นไปได้อีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ประเภทของหน้ากากอนามัย ที่มีการนำมาใช้ในการป้องกันโรค

ประเภทของหน้ากากอนามัย ที่มีการนำมาใช้ในการป้องกันโรค โดยทั่วไปมีดังนี้

1. หน้ากากอนามัยที่ผลิตจากผ้า หน้ากากชนิดนี้จะเน้นใช้สำหรับป้องกันฝุ่นละออง และป้องกันการกระจายของน้ำมูกหรือน้ำลายจากการไอจาม แต่ไม่สามารถกรองเชื้อโรคได้ ข้อดีของหน้ากากผ้าคือ ซักทำความสะอาดแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้

2. หน้ากากอนามัยแบบเยื่อกระดาษ 3 ชั้น (surgical face mask) ใช้มากเพราะราคาถูก หน้ากากชนิดนี้ใช้กรองฝุ่นและป้องกันของเหลวซึมผ่านได้ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคจากการไอจามพวกเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราในผู้สวมใส่ได้ แต่ไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัส ที่มีขนาดเล็กมาก ป้องกันละอองฝอยขนาดมากกว่า 5 ไมครอน ลดการกระจายเชื้อได้ 80%  ใช้วันต่อวัน โดยไม่นำมาใช้ซ้ำ หากมีรอยรั่วหรือเปื้อน ให้ทิ้งทำลาย



3. หน้ากากอนามัยชนิด N95 สามารถป้องกันเชื้อโรคได้ดีที่สุด เพราะป้องกันได้ทั้งฝุ่นละอองและเชื้อโรคที่ขนาดเล็กถึง 0.3 ไมครอน ใช้สำหรับบุคลากรการแพทย์

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การที่คนรักษา ตายไปด้วยเป็นผลจากกระบวนการของระบบ คงไม่ใช่เรื่องการระบายอากาศอย่างเดียว ในสถานพยาบาล

ความจริงที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ บางคนก็ไม่อยากรู้...!!!
:::::::::::::::::::::::
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
.
การที่คนรักษา ตายไปด้วยเป็นผลจากกระบวนการของระบบ คงไม่ใช่เรื่องการระบายอากาศอย่างเดียว ในสถานพยาบาล
-ในรพรัฐ รพ ศูนย์ หอผู้ป่วยธรรมดา ก็เหมือน ICU แล้ว มีทั้ง ติดเชื้อ ไม่ติดเชื้อ นอนด้วยกันเรียงเป็นแถว ไม่อาจทราบได้ชัดเจน
-คนรักษา จะไม่มีทางทราบเลย mode ของ การติดต่อของเชื้อ เป็น dropletทางละอองฝอย ไอ จาม โดยตรง หรือหล่นไปติดตามเครื่องใช้ หรือ จากการสัมผ้สใกล้ชิด closed contact แมักระทั่ง การติดต่อทางการหายใจ air borne
-และคิดไม่ออก บอกไม่ได้ว่าการป้องกันจะเป็นระดับใด  รวมทั้งป้องกันตัวเองด้วย และจะให้ป้องกันครอบจักรวาลในทางปฏิบัติอางทำได้ยาก
-นี่เป็นเหตุผล ทำไม หมอ พยาบาล ที่บังคลาเทศ ตายทุกปี เพราะจะมี คนไข้เยื่อหุ้มสมอง สมองอักเสบ อาการทางเดินหายใจ มากมาย เข้ามาประจำวัน รวมทั้งที่เกิดจาก ไวรัส nipah ทุกคนอาการเหมือนกันหมด  และ nipah ติดต่อ คน สู่ คน หรืออย่าง MERS ซึ่งจากคนไข้คนเดียว เข้ารพ แดร่ทั้ว รพ และทั้งประเทศ
-ถ้าคนรักษามีคนไข้มากมาย ยิ่งทำให้ร่างกาย และการตัดสินใจ อ่อนแอไปด้วย
-ประกอบกับ สถานที่ รพ ไม่ได้ตั้งใจรองรับคนป่วยจำนวนขนาดนี้ เพราะฉนั้นไปทั้ง คนป่วย และคนรักษา
-ระบบการกันเชื้อแพร่ Infection control system คงต้องทำไปพร้อมกับปรับปรุงระบบ สุขภาพทั้งหมด แก้โดยการเพิ่มตึก เพิ่มเตียง เพิ่มหมอ พยาบาล เป็นการแก้ปลายเหตุเล็กๆ
-ทำไมคนไข้หน้าใหม่เกิดขึ้นมหาศาล และรุนแรง หลั่งไหลเข้า รพ เพราะเราป้องกันไม่ได้
-การชะลอคนเริ่มป่วยที่ยังไม่มีอาการ เช่น เบาหวาน ความดันสูง ทำไม่ได้
-คนเริ่มป่วยเข้าไม่ถึงการรักษา คนในตำบล ไปหา รพ ยาก คนรักษาก็อิดโรย
-ดังนั้น คนป่วยอาการหนักจะมากขึ้นเรื่อยๆ และไวต่อเชื้อ กลายเป็นที่เพาะเชื้อไปด้วย และรักษากันซึ้าซากมาจนกลายเป็นเชื้อดื้อยา
https://m.manager.co.th/Daily/detail/9600000052413

วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

เตือนระวังโรคทางเดินหายใจ

เตือนระวังโรคทางเดินหายใจ

ดูแลตนเองช่วงหน้าฝน ระบุตัวเปียกจากการ 

ตากฝนต้องรีบอาบน้ำทำตัวเองให้แห้ง พร้อมเตือนระวังโรคทางเดิน

หายใจ

ประชาชนดูแลตนเองช่วงหน้าฝน ระบุตัวเปียกจากการตากฝนต้องรีบอาบน้ำทำตัวเองให้แห้ง พร้อมเตือนระวังโรคทางเดินหายใจโดยเฉพาะโรคปอดบวม และอุบัติเหตุทางรถยนต์

ภายหลังจากที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกมาประกาศว่าจะมีฝนตกอย่างต่อเนื่องในหลายภูมิภาคไปอีกหลายวัน ดูแลตนเองในช่วงหน้าฝนว่า หากใครที่หลีกเลี่ยงการตากฝนไม่ได้หลังจากที่เปียกฝนแล้วจะต้องทำตัวเองให้แห้งโดยเร็วที่สุดโดยเมื่อกลับถึงบ้านต้องรีบถอดถุงเท้าและเสื้อผ้าที่เปียกฝนออกทันที เพราะการใส่เสื้อผ้าที่เปียก ทำให้ไม่สบายเป็นหวัด รวมไปถึงเป็นปอดบวมได้ จากนั้นให้รีบอาบน้ำ สระผม ทำร่างกายให้อบอุ่นทันที เพราะในน้ำฝนมีอาจะมีเชื้อโรคหรือสิ่งสกปรกติดมาด้วย ทั้งนี้ควรให้ความสำคัญกับการทำความสะอาดเท้า โดยต้องใช้สบู่ฟอกทำความสะอาดเท้าที่ต้องเดินลุยน้ำฝนหรือน้ำเจิ่งนองที่อาจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่จนอาจะทำให้เท่าเกิดเชื้อราได้

ประชาชนยังต้องดูแลตนเองให้ปลอดจากโรคที่มักจะเกิดขึ้นในฤดูฝนคือโรคที่ติดเชื้อจากระบบทางเดินหายใจ เพราะเมื่ออากาศมีความชื้นมาก จะทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตและแพร่เชื้อได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะโรคปอดบวมที่เป็นโรคซึ่งเกิดขึ้นกับระบบทางเดินหายใจ โดยปอดเกิดอาการอักเสบและติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา หรือพยาธิ โดยอาการเบื้องต้นจะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ น้ำมูกไหล ไอแห้ง มีเสมหะปนเลือด จามคัดจมูกเจ็บหน้าอกและมีอาการท้องเสียร่วมด้วย ทั้งนี้หากท่านพบเหตุผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดบวมและอาการเข้าขั้นฉุกเฉิน คือ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ มีเลือดหรือเสมหะปริมาณมากในปาก หายใจเสียงดังโครกคราก ตัวซีดเหงื่อท่วมตัว และต้องลุกนั่งหรือพิงผนังหรือยืนเพื่อให้หายใจได้ ควรรีบโทรแจ้งสายด่วน 1669 เข้ามารับผู้ป่วยฉุกเฉินไปรักษาที่โรงพยาบาลให้ได้อย่างทันท่วงที 

อัตราคนมีปัญหาบรรจุไม่ได้ ก็ต้องมีมาตราการณ์ป้องกันคนที่ทำงานอยู่ ทำงานแบบมีคุณภาพชีวิตที่ดีหน่อยนะ ทุกวันนี้บุคลากรการแพทย์ต้องเสี่ยงติดเชื้อโรคในสถานที่ปฎิบัติการเพียบ

เมื่ออัตราคนมีปัญหาบรรจุไม่ได้ ก็ต้องมีมาตราการณ์ป้องกันคนที่ทำงานอยู่ ทำงานแบบมีคุณภาพชีวิตที่ดีหน่อยนะ ทุกวันนี้บุคลากรการแพทย์ต้องเสี่ยงติดเชื้อโรคในสถานที่ปฎิบัติการเพียบ เป็นอะไรขึ้นมา ไม่คุ้มกับการสูญเสียเลย
.

ช่วงนี้มีข่าวน้องหมอจบใหม่ เสียชีวิตค่อนข้างติดๆกัน รายแรกทราบว่าติดเชื้อวัณโรคจากคนไข้และเป็นเชื้อดื้อยารุนแรง อีกรายคือคุณหมอหนุ่มร่างกายกำยำที่สงสัยว่าปอดติดเชื้อจนมีอาการติดเชื้อในกระแสเลือดและเสียชีวิตในที่สุด ก่อนอื่นพี่ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งกับครอบครัวของน้องหมอทั้งสองคนที่เชื่อว่าน้องๆทั้งคู่น่าจะเป็นความหวังและเสาหลักของครอบครัว

เรื่องการเสียชีวิตของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ไม่ใช่ครั้งนี้ครั้งแรก มีข่าวอยู่เนืองๆ ทั้งอุบัติเหตุจากการพักผ่อนไม่พอขับรถหลับใน โรคภัยไข้เจ็บ แม้กระทั่งการฆ่าตัวตายจากความเครียด จากหลากหลายปัจจัย ทำให้เราต้องสูญเสียคนหนุ่มสาวมีอนาคตที่ยังควรจะสามารถช่วยเหลือชีวิตผู้คนได้อีกหลายหมื่นหลายแสนคนไปอีก 30-40ปี

ส่วนหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือระบบงานสาธารณสุขของประเทศ ที่มีภาระงานหนักหน่วงเกินกว่าที่บุคลากรที่มีอยู่จะสามารถรับมือได้อย่างเพียงพอ การอยู่โยงเวร 72ชม. ได้นอนเป็นงีบๆ มีให้เห็นอยู่ในยุคปัจจุบัน การที่ต้องออกตรวจทั้งๆที่ตัวหมอตัวพยาบาลป่วย คาสายน้ำเกลือ ฉีดยาฆ่าเชื้อไปตรวจไป ยังเป็นเรื่องปกติในโรงพยาบาลรัฐ สุดท้ายแล้วถ้าปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข บุคลากรไม่ได้รับการเพิ่มจำนวนให้เพียงพอกับภาระงาน ไม่มีการควบคุมชั่วโมงการทำงานให้พอเหมาะ แต่ยังอ้างคำว่า "เสียสละ" และ "จรรยาบรรณ" มาก่อนตลอดเวลา เคสนี้ก็ยังไม่ใช่เคสสุดท้าย ที่เราจะต้องสูญเสียหมอหนุ่มสาวอายุน้อยไปก่อนวัยอันควร

ประเด็นที่ควรต้องพูดถึงกันจริงๆ อาจไม่ใช่การชื่นชมการเสียชีวิตในหน้าที่ (เราไม่ได้อยู่ในสนามรบ ไม่ได้ไปฆ่าฟันกับใคร เหตุแบบนี้มันไม่ควรเกิด) แต่คำถามสำคัญกว่านั้นคือ ระบบสาธารณสุขของประเทศนี้จะดูแลปกป้องบุคลากรให้ดีกว่านี้ได้อย่างไร

สุดท้าย หากมีน้องๆหมอพยาบาลบุคลากรทางการแพทย์หรือสาขาอื่นๆได้อ่านอยู่ ในฐานะรุ่นพี่อยากฝากข้อคิดไว้ว่า การมีอุดมการณ์เป็นสิ่งดี การทุ่มเทแรงทั้งกายใจเพื่อช่วยชีวิตคนไข้เป็นเรื่องประเสริฐ แต่อย่าลืมดูแลตัวเอง และคนข้างหลัง เราไม่ได้จะเรียนจบออกมาเพื่อทำงานจนตายไม่ได้ใช้ชีวิตของตัวเอง และทิ้งคนข้างหลังเอาไว้โดยไม่มีโอกาสได้ดูแลใครในครอบครัวเลย

ป.ล. ในประเทศที่พัฒนาแล้วการตายของบุคลากรในที่ทำงาน จะได้รับการสอบสวนหาสาเหตุอย่างหนัก สิ่งที่ได้จะไม่ใช่แค่คำชื่นชมในหนังสือพิมพ์รายวันหน้าหนึ่ง
Admin Dr. Jame

https://web.facebook.com/Drnextdoor/?hc ... ED&fref=nf