วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2562

การวัดปริมาณฝุ่นแบบ realtime มีประโยชน์กับปชช.มากกว่าเฉลี่ย 24 ชม.



ค่าเหล่านั้นก็ยังไม่ใช่ภาพแทนที่ถูกต้องเพราะเป็นค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่ใช่ค่าแบบเรียลไทม์ จึงเป็นการแจ้งผลย้อนหลัง กว่าเราจะทราบ ภาวะอากาศแย่ก็อาจจะผ่านไปแล้ว ซ้ำร้ายสถานที่วัดก็เป็นพื้นที่ที่ยังไงก็ฝุ่นเยอะอยู่แล้วด้วย


“สถานีที่วัดของกรมควบคุมมลพิษคือริมถนน USEPA (องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา) เขาบอกว่า ถ้าจะบอกว่ากรุงเทพฯ มีปัญหารุนแรง ต้องตรวจวัดห่างจากถนน 100 เมตร เราไปวัดริมถนนก็ได้แต่ฝุ่นริมถนนนั่นแหละ แล้วเราก็ไปออกข่าวว่าเป็นตัวแทนของกรุงเทพมหานคร”
ปัญหาฝุ่นละอองในเชียงใหม่ก็ตกอยู่ในสภาพเดียวกันกับปัญหารถติดในกรุงเทพฯ “เราแก้รถติดไม่ได้ แต่เราจะอยู่กับรถติดได้อย่างไร เช่นเดียวกัน เราอยู่กับฝุ่นมา 10 ปี ทุกคนรู้ว่าเกิดจากอะไรแต่แก้ไม่ได้ แล้วเราจะอยู่กับสภาพที่เกิดหมอกควันทุกปีโดยไม่ป่วยได้อย่างไร เราต้องมีข้อมูลที่จะบอกว่าคนต้องดูแลตัวเองอย่างไรในบริเวณที่เขาอยู่ เพื่อเตือนให้คนใส่หน้ากากเหมือนที่เราเตือนให้คนใส่หมวกกันน็อค”


https://adaymagazine.com/report-air-pollution/

รู้ยัง ? องค์การอนามัยโลก เค้าว่าแบบนี้ เรื่องฝุ่นขนาดเล็ก(PM2.5)



มาตรฐานเกณฑ์แนะนำ PM 2.5 ในบรรยากาศจริง เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 25 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร(1 ไมโครกรัม = 1 ส่วนในล้านส่วน) และเฉลี่ย 1 ปี ไม่เกิน 10 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร

องค์การอนามัยโลก จึงได้ศึกษาระดับความเข้มข้นของฝุ่นละอองที่ปลอดภัย จนได้ข้อสรุปออกมาเป็นแนวทางการกำหนดมาตรฐานเพื่อให้ประเทศต่าง ๆ ในปี 2005 เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศ ซึ่งนอกจากเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดให้นี้แล้ว องค์การอนามัยโลกยังเสนอ Interim target (เป้าหมายเฉพาะกาล) เป็นลำดับขั้น เพื่อให้แต่ละประเทศ ที่ยังไม่สามารถบรรลุเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ได้ใช้ติดตามพัฒนาการควบคุมคุณภาพอากาศให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์ต่อความปลอดภัยด้านสุขภาพของประชาชนด้วย



http://www.balanceenergythai.com/%E0%B8%9D%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81-pm2-5/