วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557

อาการและความสามารถในการแพร่เชื้อของผู้ป่วยอีโบล่า

อาการและความสามารถในการแพร่เชื้อของผู้ป่วยอีโบล่า

     1. ผู้ติดเชื้ออีโบล่าจะแสดงอาการ symptom ในช่วง 4-9 วันหลังจากได้รับเชื้อ ในรายที่รุนแรงจะแสดงอาการป่วยใน 1-2 วัน จะตายภายในสองถืงสามสัปดาห์หลังแสดงอาการป่วย  ถ้าไม่ตายในช่วงเวลาดังกล่าว มีสิทธิรอด แต่ผู้ป่วยจะมีเชื้อที่แพร่ระบาดอยู่ในร่างกายได้เกินสองเดือนครื่ง ผลจากการทดสอบจืงต้องอยู่ในโรงพยาบาลตลอด อาการแนวนี้เป็นโรคที่เปลืองเตียง เปลืองหมอ เปลืองค่าใช้จ่ายมา แต่เชื้อจะฟักตัวอยู่ได้ถืง 21 วันนะครับ สำหรับผู้ติดเชื้อก่อนแสดงอาการ ผู้ติดเชื้อนี้จืงมีอันตรายตลอด 1 เดือนตั้งแต่รับเชื้อจนตาย และอีกสามเดือนหลังจากหายป่วย

     2. ขีดเส้นใต้เลยครับว่า เมื่อผู้ป่วยแสดงอาการจะเป็นระยะแพร่เชื้อ ในระยะแรกเชื้อจะอ่อน รักษาได้ แต่เช้ื้อระยะที่สอง สาม จนตาย และหลังจากหายแล้วรุนแรง ง่ายต่อการระบาด ข้อมูลนี้สำคัญในการวางแผนป้องกันประเทศไทย

อาการของผู้ป่วยอีโบล่า แบ่งเป็นสี่ขั้นตอน

     ขั้นที่ 1 ระยะติดเชื้อยังไม่แสดงอาการ อยู่ในช่วง 4-9 วัน หรือ 1-2 วันเป็นส่วนใหญ่ ที่เหลือไปได้ถืง 21 วัน

     ขั้นที่ 2 เมื่อเกิดอาการ ในช่วงสามวันแรก จะมีอาการคล้ายไข้หวัด คือ ปวดกล้ามเนี้อ มีไข้ระดับ 105 องศาฟาเรนไฮต์ เจ็บคอ อ่อนเพลียรุนแรงฉับพลัน  ถ้าคุณไม่เคยติดต่อกับคนไข้อีโบล่า คุณเป็นไข้หวัดแหงๆ ไม่ต้องสติแตกครับ กินยา นอนพักซะ เนื่องจากอีโบล่ามีอาการคล้ายไข้หวัด จะตรวจเลือดทุกคนน่ะ มันไม่ไหว

     ขั้นที่ 3 วันที่ 4-7 หลังจากเริ่มมีไข้ อาจมีอาการอาเจียร ท้องร่วง ถ่ายเป็นเลือด ความดันเลือดต่ำ ปวดหัว ถ้าไม่เคยเกี่ยวข้องกับคนไข้อีโบล่า คุณอาจเป็นอาหารเป็นพิษ ถ่ายเป็นเลือดอาจเป็นริดสีดวง มะเร็ง โรคตับ ไต ไปโรงพยาบาลครับ

     ขั้นที่ 4 วันที่ 7-10 หลังจากเริ่มมีอาการ จะมีเลือดออกทางปาก หู ตา ทวาร เกิดเป็นตุ่มพุพองมีเลือดไหลออกมา เชื้อนี้รุนแรงมาก หลบภูมิต้านทานของร่างกายเข้าตับ ไต มีเลือดไหลทั้งภายนอก ภายใน คนป่วยจะช้อก โคม่า ใส่เครื่องช่วยหายใจ และตาย ตายเพราะเลือดออกมาก หรือ อวัยวะเช่นไตฟอกเลือดไม่ได้ เลือดเสียเข้าหัวใจหัวใจหยุดเต้น อาการมันคล้ายเลือดออกจากทวารทั้งเจ็ด มีตุ่มตามตัวแบบไข้ทรพิษด้วย

     ขั้นที่ 5 เมื่อผู้ป่วยตาย ช่วงนี้คนจะติดเชื้อกันมาก ตอนทำพิธีทำความสะอาดศพ ด้วยความเคารพอย่างสูงต่่ออิสลามิกชน ผมเข้าใจการปฏิบัติดูแลผู้ป่วย การทำความสะอาดศพ และแต่งศพตามพิธีศาสนา ต้องระมัดระวังสูงสุด เพราะของเสียและเชื้อแข็งแรงเต็มที่ ติดต่อกันช่วงนี้เยอะ

     ขั้นที่ 6 คนที่หายป่วยแล้ว ก็ต้องระวังมากๆครับ เชื้อยังอยู่นาน จะมีเพศสัมพันธ์ต้องใช้ถุงยางเสมอ

เชื้ออีโบล่าติดต่อได้ทางไหนบ้า

     1. ของเหลวทุกชนิด เลือด อุจจาระ อาเจียน ห้องขับถ่ายอันตรายมาก
     2. ทางผิวหนัง เช่นเหงื่อ หมอด้านนี้เลิกจับมือกัน แต่เอาศอกชนกัน คิดดูละกัน
     3. เมื่อเข้าไปดูแลคนไข้ คนไข้ จาม ไอ เชื้อมาทางอากาศได้ เชื้อออกจากปาก จมูกได้
     4. พยาบาล ญาติที่ไปเฝ้าไข้ ไปเช็ดตัว ล้างอุจจาระ ทำความสะอาดเลือด แผลตามร่างกาย
     5. ถ้าระบบถ่ายเทอากาศ แอร์เป็นแบบปกติ ติดต่อได้ มีการเผยแพร่การปฏิบัติของ CDC ของอเมริกา อังกฤษจืงบอกว่ามีเตียงรับผู้ป่วยอีโบล่าที่ปลอดภัยเพียงสองเตียง เพราะต้องออกแบบใหม่หมด ทุกขั้นตอน ระดับสี่นะครับ
     6. สิ่งแวดล้อม เช่น ห้องผู้ป่วย ของเหลวบนเตียง พื้น ติดรองเท้าบุคลากร

โรคนี้อันตรายสุดๆ แพทย์ที่ตรวจเลือดเสี่ยง ต้องใช้ชีวอุปกรณ์ป้องกันระดับสี่

วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การดื่มน้ำให้เหมาะกับสุขภาพร่างกาย

ใคร ๆ ก็รู้ว่าน้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต แต่เรายังพบเห็นปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับน้ำของร่างกาย โดยเฉพาะการบริโภคน้ำในเวชปฏิบัติอยู่เป็นประจำ

 


ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยน้ำ 55% - 70% ร่างกายใช้น้ำเป็นส่วนประกอบของโครงสร้าง เป็นตัวกลางในการดูดซึมสารอาหาร รักษาความชุ่มชื้นของร่างกาย อวัยวะต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบของโลหิต สารหล่อลื่นข้อต่อ ส่วนประกอบของทุกอวัยวะในร่างกาย ฯลฯ

ด้วยเหตุนี้ ปริมาณน้ำจึงต้องมีให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่ร่างกายได้รับน้ำจากการบริโภคทางปาก การเผาผลาญทางเคมีในร่างกาย และได้รับผ่านทางเส้นเลือด รวมไปถึงกรณีเจ็บป่วยแล้วได้รับน้ำเกลือ ร่างกายจึงมีความจำเป็นต้องปรับสมดุลของการรับน้ำในร่างกายให้เหมาะสม ด้วยการขับน้ำออกจากร่างกายทางไต ทางลมหายใจ ทางเหงื่อ ทางลำไส้โดยปนมากับอุจจาระ เมื่อร่างกายขาดน้ำ จะมีการกระตุ้นสมองให้เกิดความรู้สึกกระหายน้ำ เนื่องจากเมื่อร่างกายขาดน้ำ จะมีผลต่ออวัยวะต่าง ๆ มากน้อยต่างกัน ตามความรุนแรงของการขาดน้ำ ตั้งแต่ความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้น ไตทำงานลดลง สมองทำงานด้วยประสิทธิภาพลดลง ความต้านทางโรคลดลง ในทางตรงกันข้าม เมื่อน้ำในร่างกายเกิน น้ำจะไปสะสมตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทำให้เกิดอาการบวมตามส่วนต่าง ๆ เช่น ขา แขน ผิวหนัง ถ้าไปสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อปอด ทำให้หายใจไม่สะดวก เป็นอาการหนึ่งของภาวะหัวใจล้มเหลว

สำหรับผู้ป่วยสูงอายุจำนวนมาก มักมีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะลำบาก หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ จึงแก้ปัญหาด้วยการดื่มน้ำน้อยลงในแต่ละวัน บางครั้งผู้ป่วยบางท่านกังวลว่า จะต้องตื่นกลางดึกเพื่อปัสสาวะ แล้วกลับมานอนไม่หลับ จึงดื่มน้ำน้อย ผลของการดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย มีผลให้การทำงานของไตลดลงโดยไม่รู้ตัว ผิวหนังแห้ง จนบางครั้งเกาจนเป็นแผล ผู้สูงอายุมักมีปัญหาเรื่องความรู้สึกกระหายน้ำลดลงเมื่อร่างกายขาดน้ำ จึงมีแนวโน้มการขาดน้ำมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ รวมทั้งความรู้สึกทั่วไป เช่น อ่อนเพลีย

มีคำแนะนำให้ผู้สูงอายุที่ไม่ป่วยเป็นโรคหัวใจ ไตวายเรื้อรัง ฯลฯ ดื่มน้ำวันละ 1,500 - 2,000 มิลลิลิตรต่อวัน หรือประมาณ 6 - 8 แก้วต่อวัน หรือ 30 - 35 มิลลิลิตรต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัมต่อวัน โดยอาจแบ่งช่วงเวลาการดื่มน้ำตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล เช่น ถ้ากังวลเรื่องปัสสาวะกลางดึกหลายครั้ง ก็ให้ลดประมาณการดื่มน้ำลงในช่วงบ่ายถึงเย็น และก่อนนอน แต่ปริมาณการดื่มน้ำทั้งวันต้องให้ได้ปริมาณตามคำแนะนำดังกล่าว วันใดที่เดินทางกลางวัน ก็อาจดื่มน้ำกลางวันลดลง เป็นต้น การดื่มน้ำให้เพียงพอ ยังช่วยลดอาการท้องผูกในผู้สูงอายุเช่นกัน

วิธีการง่าย ๆ นี้ ที่ใช้ประเมินว่าร่างกายขาดน้ำหรือไม่นั้น ให้สังเกตจากสีปัสสาวะ ถ้าเข้มข้นมากขึ้น โดยไม่ได้กินยาหรืออาหารที่ขับออกมาทางปัสสาวะแล้วสีเข้มขึ้น ในทางตรงข้าม ถ้าสังเกตว่ามีอาการบวมบริเวณผิวหนัง หรือขา 2 ข้าง หรือเริ่มเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ อาจะเป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะน้ำในร่างกายเกิน จำเป็นต้องลดการบริโภคลง

"น้ำ" เป็นสิ่งที่ทุกคนคุ้นเคย ถ้าทุกคนเข้าใจถึงความสำคัญและรู้จักวิธีการบริโภคที่ถูกต้อง ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยป้องกันให้สุขภาพของผู้สูงอายุแข็งแรงอย่างต่อเนื่อง